การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงาน รายวิชา ส16101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อนงค์นาฎ บรรหาร
อังคณา ตุงคะสมิต

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท รายวิชา ส16101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท โดยนักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ร้อยละ 75 ขึ้นไป 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ75 ขึ้นไป 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท  กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยไผ่โนนคำมีอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 23 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบ One – Shot Case Study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้บูรณาการประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบทด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละ(%)

            ผลการวิจัยพบว่า 

               1)   ผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท พบว่ากระบวนการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วยกำหนดหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการกับประเพณีและวัฒนธรรมในอำเภอชนบท เขียนผังมโนทัศน์แสดงความเชื่อมโยงหัวข้อของสาระการเรียนรู้นั้นๆ แล้วนำมาออกแบบจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินหน่วยการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ แนะ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้

               2)   ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 16.30 คิดเป็นร้อยละ 82.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 16.30 คิดเป็นร้อยละ 82.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาร้อยละ 75 ขึ้นไป

               3)   ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ23.00 คิดเป็นร้อยละ77.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นในอำเภอชนบท ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.75,S.D. = 0.43) ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (X= 4.50,S.D. =  0.56)  ด้านการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.57,S.D. =  0.65)

 

Abstract

               The purposes of this research were to 1) develop a Unit plan integrating tradition and culture in Chonabot district, for The Soc.16101 Social studies, religion and culture course , 2) study problem solving skills of Pratomsuksa 6 students by using the Unit plan integrating tradition and culture which the students get higher than 75% of marks in problem solving skills, 3) study the learning achievement of Pratomsuksa 6 after launching the learning unit integrating tradition and culture in Chonabot district which the students get higher than 75% of marks, and 4) study the satisfaction of Pratomsuksa 6 students after using project approach, integrating tradition and culture in Chonabot district unit.The target group of this One-Shot Case Study were 23 Pratomsuksa 6 students at Baan Huay Phai Non Kam Mee school,Chonabot district,Khon Kaen province. The instruments used in this research comprises of the Unit plan integrating tradition and culture in Chonabot district through Project Approach, an assessment of problem solving skills test, a learning achievement test, a satisfaction questionnaire the statistical. ,(S.D.), and percentage are used for analyzing data.

            According to the findings,

               1)   The result of learning unit integrating tradition and culture in Chonabot district development presented that the procedures in developing Unit plan composed of determining subjects relating to local area, analyzing learning standard and  indicators, core contents, analyzing objectives and contents integrating tradition and culture in Chonabot district, mind mapping relating to contents which leads to designing learning management, planning for learning management, assessing the learning unit by experts, editing and correcting according to the experts’ recommendation, and utilizing the learning unit.

               2)   The result of problem solving skills revealed that the students have an average point of 16.30 or 82% in problem solving skills which is higher than 75% in expectation.

               3)   According to the learning achievement, the students have an average point of 23 or 77.83% in the achievement test which is higher than expectation, 75%. 4) The result of the satisfaction questionnaire shows that the students are satisfied with the contents of the learning unit integrating tradition and local culture in Chonabot district at the highest level  (X=  4.75 , (S.D.)  =  0.43), in learning management at the highest level (X= 4.50,S.D. =  0.56), and at the highest level in problem solving skills development (X= 4.57 ,S.D. =  0.65). 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ