รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม พื้นที่ย่านถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนสาร ช่างนาวา
  • สันต์ จันทร์สมศักดิ์

คำสำคัญ:

สี, รูปแบบสี ความกลมกลืนของสี, สถาปัตยกรรม, องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

บทคัดย่อ

การรับรู้รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและความสัมพันธ์ของสีกับอาคาร ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้เอกลักษณ์ของพื้นที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ย่านถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร ดังนั้น เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์รูปแบบสีที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในพื้นที่ย่านถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร และ ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบสีโดยใช้ทฤษฎีความกลมกลืน ด้วยการบันทึกภาพถ่ายในระบบดิจิตอล และกระบวนการสังเคราะห์ค่าสีในระบบอาร์จีบี ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแต่ละส่วนมีรูปแบบสีที่หลากหลาย โดยรูปแบบสีส่วนใหญ่ของหลังคาเป็นสีขาว (240,240,240) ร้อยละ 31.59 ส่วนของเปลือกอาคารเป็นสีขาว (229,228,226) ร้อยละ 49.16 ส่วนประตูเป็นสีดำ (28,29,31) ร้อยละ 30.02 และส่วนหน้าต่างเป็นสีดำ (36,33,36) ร้อยละ 33.21 นอกจากนี้ การรับรู้รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมาจากสัดส่วนของเปลือกอาคารมากที่สุด (ร้อยละ 65) รองลงมาได้แก่ ส่วนหลังคา (ร้อยละ 20) ส่วนประตู (ร้อยละ 10) และหน้าต่าง (ร้อยละ 5) ตามลำดับ และรูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดรูปแบบความกลมกลืนขึ้นในทางทฤษฎีสี โดยพบว่า รูปแบบสีของย่านมีความกลมกลืนแบบสีคู่ตรงข้าม ในขณะที่รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยส่วนใหญ่มีรูปแบบสีคู่ตรงข้าม (31 หลัง) รูปแบบสีข้างเคียง (25 หลัง) และรูปแบบสีเดียว (23 หลัง) ตามลำดับ งานวิจัยนี้สรุปว่า รูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในระดับอาคารจัดเป็นรูปแบบสีคู่ตรงข้าม ซึ่งมีความสอดคล้องกับรูปแบบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในระดับย่าน และรูปแบบสีดังกล่าวถือเป็นรูปแบบสำคัญที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ ที่ควรอนุรักษ์ไว้

Author Biographies

ธนสาร ช่างนาวา

นิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สันต์ จันทร์สมศักดิ์

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

เอกสารอ้างอิง
ธนสาร ช่างนาวา และ สันต์ จันทร์สมศักดิ์ 2560. “การพัฒนากระบวนการเทียบสีขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมบนฐานการทำงานของระบบสีอาร์จีบี”. ใน งานประชุมวิชาการ BERAC 8, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 145-153.

ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ. 2552. การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี ทิพทัศ. 2539. สถาปนิกสยาม: พื้นฐาน บทบาท ผลงานและแนวคิด พ.ศ. 2475-2537. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. 2552. อาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์บริเวณถนนเจริญกรุงตอนบน. กรุงเทพฯ: อิโคโมสไทย.
Caivano, J. L. 1998. "Color and semiotics: A two-way street". Color Research & Application. 23(6): 390-401.

Chin, S. 2012. "Colour scheme supporting technique based on hierarchical scene structure for exterior design of urban scenes in 3D". Color Research & Application. 37(2): 134-147.

Dong,X.M. and Kong, Y.L. 2009. Urban colourscape planning a colour study of the architecture of Karlskrona. Sweden: LAP LAMBERT Academic Publishing.

Lenclos, J.-P. and Lenclos, D. 2004. Colors of the world: The geography of color. New York: Norton.
Llopis, J. Torres, A. Serra, J. and Garcia, A. 2015. "The preservation of the chromatic image of historical cities as a cultural value. The old city of Valencia (Spain)". Journal of Cultural Heritage. 16(5): 611-622.

Lynch, K. 1960. The image of the city. Cambridge, Massachusetts Institute of Technology.

Nguyen, L. and Teller, J. 2017. "Color in the urban environment: A user-oriented protocol for chromatic characterization and the development of a parametric typology". Color Research & Application. 42(1): 131-142.

Sharma, G. Wu, W. and Dalal, E. N. 2005. "The CIEDE2000 Color-Difference Formula: Implementation Notes, Supplementary Test Data, and Mathematical Observations". Color Research & Application. 30(1): 21-30.

Zybaczynski, V. M. 2014. "Colour-important factor in preserving the local identity". Urbanism. Architecture. Constructions / Urbanism. Arhitectura. Constructii. 5(4): 87-92.


ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
GIMP. 2017. GIMP official website. [Online] [Cited 10 DEC 2017]. Available from: https://www.gimp.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30