การให้แสงสีภายนอกอาคารแบบสีข้างเคียงร่วมกับความสดของสีและน้ำหนักความมืด-สว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ทางสายตา กรณีศึกษาโบสถ์กาลหว่าร์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กฤตยชญ์ ธนะกรรณ์
  • พรรณชลัท สุริโยธิน

คำสำคัญ:

การให้แสงสีภายนอกอาคาร, สีข้างเคียง, ความสดของสี, น้ำหนักความมืด-สว่าง, การรับรู้ทางสายตา

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ความรู้สึกสงบ สบายตา ผ่อนคลาย และพึงพอใจของการให้แสงสีแบบสีข้างเคียงร่วมกับระดับความสดของสีและน้ำหนักความมืด-สว่างที่แตกต่างกัน ได้แก่ การปรับระดับความสดของสีที่ 100% โดยไม่ปรับระดับน้ำหนักความมืด-สว่าง การปรับระดับความสดของสีที่ลดลง 50% โดยไม่ปรับระดับน้ำหนักความมืด-สว่าง การปรับระดับความสดของสีที่ 100% ร่วมกับการปรับระดับน้ำหนักความมืด-สว่างที่เพิ่มขึ้น 50% และการปรับระดับความสดของสีที่ลดลง 50% ร่วมกับการปรับระดับน้ำหนักความมืด-สว่างที่เพิ่มขึ้น 50% ระหว่างกลุ่มคนในและกลุ่มคนนอกกลุ่มละ 50 คนเท่าๆ โดยกลุ่มคนใน หมายถึง กลุ่มคนที่เป็นสัตบุรุษของวัดแม่พระลูกประคำ บุคลากรของวัดหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบ และกลุ่มคนนอก หมายถึง กลุ่มนักท่องเที่ยวและคนอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า การให้แสงสีน้ำเงินบริเวณผนังด้านหน้ากับแสงสีน้ำเงินเขียวบริเวณซุ้มประตูเป็นโครงสีที่มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงสุดในความรู้สึกสบายตา ผ่อนคลาย และพึงพอใจของกลุ่มคนใน ขณะที่การให้แสงสีส้มแกมเหลืองบริเวณผนังด้านหน้ากับแสงสีเหลืองบริเวณซุ้มประตูเป็นโครงสีที่มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงสุดในทุกความรู้สึกของกลุ่มคนนอก จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบแสงสว่างที่คำนึงถึงการเลือกใช้ระดับความสดของสี ระดับน้ำหนักความมืด-สว่าง โครงสีแบบสีข้างเคียง และกลุ่มคนที่แตกต่างกันสำหรับการให้แสงสีภายนอกโบสถ์หรืออาคารที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในการสร้างบรรยากาศที่ส่งผลต่อความรู้สึกสงบ สบายตา ผ่อนคลาย และพึงพอใจ

Author Biographies

กฤตยชญ์ ธนะกรรณ์

 นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง การให้แสงสีภายนอกอาคารแบบสีข้างเคียงที่ส่งผลต่อการรับรู้ กรณีศึกษาโบสถ์กาลหว่าร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิต จากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรรณชลัท สุริโยธิน

อาจารย์ประจำ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

เอกสารอ้างอิง

ฐิรชญา มณีเนตร. 2552. ไทยศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปิยานันต์ ประสารราชกิจ. 2521. ทฤษฎีสีและการออกแบบตกแต่งภายใน. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สมภพ จงจิตต์โพธา. 2556. ทฤษฎีสี. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. 2556. การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Abbas, N. 2006. Psychological and Physiological Effects of Light and Colour on Space Users. Master’s
Thesis Department of Engineering, School of Electrical and Computer Engineering Science, RMIT University.

Feisner, E. A. 2000. Colour. Hong Kong: Laurence King.

Gardner, C. 2006. “The use and misuse of coloured light in the urban environment”. Optic & Laser
Technology. 38(1): 366-376.

Graves, M. 1951. The art of color and design. New York: McGraw-Hill.

Marberry, S. O., and Zagon, L. 1995. The Power of Color: Creating Healthy Interior Space. Canada:
John Wiley & Sons.

Millet, M. S. and Barrett, C. J. 1996. Light Revealing Architecture. New York: John Wiley & Sons. Odabasıoglu, S. 2009. Effects of Colored Lighting on The Perception of Interior Spaces. Master’s Thesis
Department of Interior Architecture and Environmental Design, The Institute of Economics And
Social Sciences, Bilkent University.

Wan, S. H., J. Ham, J., Lakens, D., Weda, J. and Cuppen, R. 2012. The Influence of Lighting Color and Dynamics on Atmosphere Perception and Relaxation. Netherland. Eindhoven University of Technology.

Williams, R. G. 1954. Lighting for Color and Form. New York: Pitman.


ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. 2552. การพัฒนาเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ในงานวิจัย. [ออนไลน์]. สืบค้น
เมื่อ 19 มิถุนายน 2559. เข้าถึงได้จาก ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. สำมะโนประชากรและการเคหะ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560. เข้าถึงได้จาก https://popcensus.nso.go.th/.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. 2559. โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15
ธันวาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://bkkchinatownriverfront.com/.

James, O. Simple. 2010. Practical Color Theory. [Online] [Retrieved December 15, 2016]. Available from
https://www.tutorial9.net/articles/design/simple-practical-color-theory/.

Oregon Museum of Science and Industry. 2016. Mixing Primary Colors. [Online]. [Retrieved December 15,
2016]. Available from https://omsi.edu/tech/colormix.php.

Photo Research, Inc. 2017. The C.I.E. Color Space. [Online] [Retrieved June 19, 2017]. Available From
https://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/vision/cie.html#c4

Rubin, P. 2015. Choosing the Right Color Palette for Your Brand. [Online] [Retrieved December 15, 2016]. Available from https://www.firstascentdesign.com/choosing-the-right-color-palette-for-your-brand/.

Rutter, C. 2016. Color Theory Fundamentals for Digital Photography. [Online] [Retrieved December 15,
2016]. Available from https://www.graphics.com/article-old/color-theory-fundamentals-digital-photography.

Wilkins, M. J. 2016. Light. [Online] [Retrieved February 12, 2016]. Available from
https://www.biblestudy tools.com/dictionary/light/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30