ปัญหาและอุปสรรคในการใช้พื้นที่เปิดโล่งของวัด: กรณีศึกษาวัดราษฎร์ในเขตธุรกิจพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร, Problems and Obstacles of the Use of Temple Open Space: Case Studies of Temples in Business Districs, and Residential Distri

Main Article Content

ประภัสรา นาคะ พันธุ์อำไพ

Abstract

บทคัดย่อ
         การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการวางผังวัดและความสัมพันธ์กับพื้นที่เปิดโล่งในวัด ศึกษาประเภทของกิจกรรม และลักษณะการใช้สอยพื้นที่เปิดโล่งของวัด และนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของพื้นที่เปิดโล่ง
ประเภทของกิจกรรม และลักษณะการใช้สอยพื้นที่เปิดโล่งของวัด เพื่อที่จะได้นำไปวิเคราะห์และสรุปศักยภาพ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการใช้งานพื้นที่เปิดโล่งของวัด โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ใช้พื้นที่วัดใน
การทำกิจกรรม และการสัมภาษณ์ผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เปิดโล่งของวัดที่เป็นกรณีศึกษาทั้ง 6 กรณีศึกษา คือ วัดบางโพโอมาวาส วัดเลียบราษฎร์บำรุง วัดมัชฌันติการาม วัดจันทร์ใน วัดไผ่ตัน และวัดพรหมวงศาราม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
พรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกประเภทพื้นที่เปิดโล่งของวัดตามประโยชน์การใช้พื้นที่เปิดโล่งได้ 7 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อทางสัญจรและจอดรถยนต์ 2) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา 3) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อตอบ
สนองต่อความเชื่อและศรัทธา 4) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการนันทนาการ 5) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการสื่อสาร 6) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการมองเห็นและเน้นความสำคัญ 7) พื้นที่เปิดโล่งเพื่อการค้า และผลการศึกษาชี้ให้เห็นปัจจัยปัญหา และอุปสรรค แยกเป็น 3 ประเด็น
หลัก คือ 1) ด้านทัศนคติของพระผู้บริหารและประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือนึกถึงประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่เปิดโล่งภายในวัดในเรื่องของการมองเห็นและเน้นความสำคัญให้กับเขตพุทธาวาสและส่งเสริมแนวแกนในการวางผังเพื่อผลด้าน
การมองเห็นสิ่งก่อสร้างในเขตพุทธาวาสซึ่งเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของวัดดังเช่นในอดีต 2) ด้านเศรษฐกิจ การเน้นเรื่องการหารายได้จากพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อนำเงินมาทำนุบำรุงวัด 3) ด้านการบริหารจัดการพื้นที่ วัดขาดการบริหารจัดการพื้นที่ภายใน
วัด ทั้งงบประมาณและกำลังคนในการดูแลพื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ


คำสำคัญ: พื้นที่เปิดโล่ง วัดราษฎร์ ประเภทพื้นที่เปิดโล่ง

Article Details

How to Cite
พันธุ์อำไพ ป. น. (2018). ปัญหาและอุปสรรคในการใช้พื้นที่เปิดโล่งของวัด: กรณีศึกษาวัดราษฎร์ในเขตธุรกิจพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในเขตเมืองชั้นในกรุงเทพมหานคร, Problems and Obstacles of the Use of Temple Open Space: Case Studies of Temples in Business Districs, and Residential Distri. Asian Creative Architecture, Art and Design, 26(1), 92–107. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/132562
Section
Research Articles

References

เกฮล์ ญาน. (2556). เมืองมีชีวิต. (ภคนันท์ เสนาขันธ์ รุ่งแสง, แปล.) กรุงเทพมหานคร: ลายเส้น.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2550). โครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อเมือง
ที่น่าอยู่. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

จามรี อารยานิมิตสกุล. (2527). ความเป็นมาของบริเวณลานโล่ง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรนภิศ นาควัชร. (2525). วัดในกรุงเทพฯ: การเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี( พ.ศ 2325-2525). กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2505). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท..

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพมหานครอักษรเจริญทัศน์.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2548). รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพมหานคร: ศิลปากร.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2544). วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2553). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม 2553-2554. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2550). หนังสือรายงาน และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 – 2555. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2546). แผนแม่บทพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มก.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2554). ยุทธศาสตร์ผังเมืองนำการพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.