การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเรือนพื้นถิ่นหมู่บ้านทะเลน้อย Adaptation and Transformation of Thale Noi Community & Vernacular Dwelling Houses

Main Article Content

ธาม วชิรกาญจน์
พัฒนา ธรรมสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ


        การวิจัยนี้มุ่งค้นหาบริบทแวดล้อมธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและรูปแบบเนื้อหาสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นที่อยู่ติดกับน้ำ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยภาคสนาม การสำรวจรูปลักษณ์ ปรากฏการณ์ ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างเคร่งครัดมากนัก กรอบความคิดวิเคราะห์ในมิตินิเวศวิทยา วัฒนธรรมและการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบร่วมกัน 


         ผลการวิจัยพบว่าการปรับตัวของเรือนพื้นถิ่นทะเลน้อยมีการแปรเปลี่ยนทั้งในระบบของที่ว่างภายนอก ที่ว่างภายในและองค์ประกอบเรือนที่เกิดจากหลายปัจจัยจำแนกได้ดังนี้ การปรับตัวของที่ว่างภายนอกที่เกิดจากระบบนิเวศ ธรรมชาติยังผลให้พื้นที่ทางเดินบนผืนดินปรับตัวเป็นทางเดินสะพานไม้ยกสูง การพัฒนาคมนาคม ทำให้มีการถมที่สร้างเรือนแบบไม่มีใต้ถุนเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้พบว่าการแปรเปลี่ยนของเรือนเครื่องผูกจากวัสดุธรรมชาติมาเป็นเรือนเครื่องสับจากไม้จริงและรับวัฒนธรรมการสร้างเรือนจากถิ่นอื่นก็มี การปรับรูปทรงของหลังคาวัสดุมุงเริ่มเปลี่ยนตามเทคโนโลยี รวมถึงไม้เป็นคอนกรีตพร้อมรูปลักษณ์เรือนสมัยใหม่ การแปรเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยและสภาพแวดล้อมภายในเรือนเป็นผลจากทางเลียบทะเลน้อยเสมือนกำแพงดินที่ขวางกั้นวัฏจักรการขึ้นลงของน้ำทะเลที่ท่วมเจิ่งนองอยู่ใต้ถุนเรือนทำให้ต้องย้าย ทุกอย่างมาอยู่บนเรือน นอกชานจึงเป็นพื้นที่สำคัญซึ่งขาดเสียไม่ได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการดำรงชีวิต แบบใหม่ที่คืบคลานเข้ามา ห้องข้าวซึ่งเป็นสัญลักษณ์วัฒนธรรมชาวนาก็ถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องนอน เช่นเดียวกับห้องส้วม ที่เคยใช้พื้นที่ป่ากระจูดเป็นที่ขับถ่ายก็ย้ายมาอยู่บนเรือน ห้องครัวซึ่งใช้ระเบียงด้านหลังก็ปรับเข้ามาอยู่ภายในนับเป็นการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงเพื่อย่างก้าวข้ามพ้นจากความเป็นสังคมบุพกาลทะเลน้อยในอดีต


คำสำคัญ: การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง เรือนพื้นถิ่นหมู่บ้านทะเลน้อย


Abstract


        This research aims to study the relationships between natural environment and ways of life in local waterside architectural structures. Qualitative methods by a field research approach to study appearances of vernacular architecture were adopted. Additionally, data were collected from unstructured interviews with a theoretical framework to analyze the dimensions of cultural ecology and comparative analysis framework.


        It was found that the adaptation changes of Thale Noi community’s vernacular houses affected changes of interior and exterior structure and the features of houses. The adaptation of exterior space caused by the natural ecology resulted in changes of original soil walkway area to a high-lift wooden foot bridge. The space beneath the elevated floor of local houses are no longer built because of the development of current transportation. There is a change of simple house features called Ruen Khrueng Phook (house assembled by binding with natural materials, e.g. rattan) to a real hardwood house or Ruen Khrueng Sab. Due to the employment of other housing architectural styles and technological development, the roofing and building materials have been changed from wood to concrete and 93 from traditional to contemporary style. Changes of interior and utilizing spaces have been impacted by a roadside (becoming like a natural soil wall) along Thale Noi that blocks water circulation. Consequently, spaces under houses are flooded and elevated ground floors are fully utilized and one of the most important areas is a balcony. Furthermore, in the process of cultural changes and a new way of life is gradually approaching, the rice storage room culturally symbolized rice farmers is adapted as a bedroom. Likewise, a toilet is relocated from a detached outdoor area at Krachood (a grass-like plant, Sedges family) field to the indoor house area. The kitchen is relocated from an outside area behind the house to an inside area. In conclusion, modern development has brought adaptation to Thale Noi’s community to socially transform and live in the present.


Keywords: Adaptation, Transformation, Vernacular Dwelling Houses, Thale Noi Community

Article Details

How to Cite
วชิรกาญจน์ ธ., & ธรรมสุวรรณ พ. (2018). การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเรือนพื้นถิ่นหมู่บ้านทะเลน้อย Adaptation and Transformation of Thale Noi Community & Vernacular Dwelling Houses. Asian Creative Architecture, Art and Design, 27(2), 92–108. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169228
Section
Research Articles

References

เกรียงไกร เกิดศิริ .(2557). องค์รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทะเลสาบ สงขลา.
วารสารหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. 11 (26), 176-213.
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2532). นิเวศวิทยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์. (2547). ปรากฏการณ์ศาสตร์ในสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พีระเดช จักรพันธุ์ และคณาจารย์. (2553). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. ในภูมิปัญญาชาวบ้านสู่งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท
พลัสเพรส จากัด.
ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์.
รัชฏา รัตนบุญฤทธิกร. (2546). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์การวางแผน
ภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาการวางผังเมือง บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
วันดี พินิจวรสิน. (2549). เอกสารประกอบการอบรมการวิจัยและปฏิบัติการภาคบรรยาย ชิมลางสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง: การพัฒนา
ชุมชนชนบท ภาพลักษณ์ชุมชนน้ำที่กำลังจางหาย. กรุงเทพฯ: สาขาสภาพแวดล้อม สรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เรือนไทย บ้านไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
อมฤต หมวดทอง. (2557). เรือนพื้นถิ่นในระบบนิเวศน์สามน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช. วารสาร
หน้าจั่ว. 10 (28), 163-180.
อรศิริ ปาณินท์. (2553). ปัญญาสร้างสรรค์ในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท พลัสเพรส จำกัด.
อิสรชัย บูรณะอรรจน์. (2557). พัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง.
วารสารหน้าจั่ว. 10 (28), 181-218.
Norberg-Schulz, C. (1985). The Concept of Dwelling: On the Way to Figurative Architecture. New York: Rizzoli
International Publication.
Steward, J. H. (1955). Theory of Culture Change: The Methodology of Multi Linear Evolution. Urbana: University of
Illinois Press.