เทคนิคการทำพาติน่าด้วยสารเคมีในชีวิตประจำวันประเภทสารทำความสะอาด สู่การออกแบบเครื่องประดับ: Patina Techniques Using Household Cleaning Chemicals to Jewelry Design

Main Article Content

วรชัย รวบรวมเลิศ
พิมพ์ทอง ทองนพคุณ

Abstract

บทคัดย่อ

       พาติน่า คือ ฟิล์มหรือการเคลือบบนผิวโลหะ อันเนื่องมาจากปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจนในอากาศเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เทคนิคพาติน่านิยมนำมาใช้สร้างสรรค์งานด้านเครื่องประดับและการตกแต่งพื้นผิวต่างๆ การทำเทคนิคดังกล่าว มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีบริสุทธิ์มาเป็นส่วนผสม เพื่อก่อให้เกิดสีที่ติดทนทานบนโลหะ ซึ่งสารเคมีบริสุทธิ์นั้นยากต่อการเข้าถึง อีกทั้งมีราคาแพงและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและตัวผู้ใช้อีกด้วยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การทดสอบเทคนิคพาติน่าจากสารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันประเภทสารทำความสะอาดเพื่อนำมาใช้ทดแทนสารเคมีบริสุทธิ์ โดยนำแผ่นทองแดงมาเป็นโลหะตัวอย่างในการทดลอง ซึ่งเทคนิคพาติน่าจะถูกนำไปใช้ในการสร้างสีสันบนพื้นผิวเครื่องประดับ เพื่อทำการทดลองตรวจหาสีที่ต่างกันบนผิวโลหะพบว่า สีที่ได้ คือ สีเขียวเข้ม สีแดงและสีเขียวมรกต ทั้งนี้การเกิดพาติน่านั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมีประเภททำความสะอาดที่เลือกใช้ และค่าความเป็นกรด-เบส อีกทั้งสีสันที่เกิดจากพาติน่ายังยึดเกาะกับโลหะได้ดี ไม่หลุดล่อนหรือเปราะง่าย

คำสำคัญ:  พาติน่า เครื่องประดับ สารเคมีในชีวิตประจำวันประเภทสารทำความสะอาด ทองแดง ความ
               เป็นกรด-ด่าง(พีเอช)

Abstract

       Patina is a thin film or lacquer on the surface of metals derived from the oxidation between metal and chemical compound or atmosphere. Patina is a popular technique for creating color on surface jewelry and surface decorations. In general, the technique of producing strong color on materials requires pure chemicals which are restrict access, expensive, and harmful to the environment and users. The objective of this research is to examine the patina techniques using household cleaning chemicals instead of pure patina
chemical on copper plate samples. Appropriate patina techniques were introduced while the different colors on metal surfaces were determined. The results revealed that the obtained colors were dark green, red, emerald color depending on the types of cleaning chemicals and their pH values. Moreover, the patina colors are stable and well adhered to the metal surfaces.

Keywords: Patina, Jewelry, Household Cleaning Chemicals, Copper, pH

Article Details

How to Cite
รวบรวมเลิศ ว., & ทองนพคุณ พ. (2017). เทคนิคการทำพาติน่าด้วยสารเคมีในชีวิตประจำวันประเภทสารทำความสะอาด สู่การออกแบบเครื่องประดับ: Patina Techniques Using Household Cleaning Chemicals to Jewelry Design. Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 24(1), 102–110. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/92407
Section
Research Articles