แนวทางการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยที่ผลิตซ้ำโครงเรื่องเดิม : Guidelines for Creating Thai Television Drama from the Remake of Existing Drama Construction

Main Article Content

แข มังกรวงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

       ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาละครโทรทัศน์ไทยมักจะนำโครงเรื่องจากบทประพันธ์ที่ได้รับความนิยม หรือจากตำนานที่ได้รับการเล่าขานมาอย่างยาวนานมาเป็นเนื้อหาในการสร้างสรรค์เมื่อผลิตแล้วได้รับความนิยม เรื่องราวเหล่านั้นก็จะถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้งในช่วงเวลาที่ต่างยุคสมัยกัน ซึ่งละครโทรทัศน์ในประเทศไทยที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุดมีจำนวนการผลิตซ้ำถึง 7 ครั้ง คือ เรื่อง แม่นาคพระโขนง และผู้กองยอดรัก และรองลงมาผลิตซ้ำเป็นจำนวน 6 ครั้งอีก 3 เรื่อง คือ บ้านทรายทองคู่กรรม และผู้ใหญ่ลีกับนางมา ซึ่งจัดว่าละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่องนี้เป็นละครโทรทัศน์ที่ถูกผลิตซ้ำมากที่สุดของประเทศไทย

       การผลิตซ้ำนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “น้ำเน่า” ที่ละครโทรทัศน์ไทยมักจะถูกให้คำจำกัดความ อันหมายถึงการวนเวียนซ้ำซากอยู่กับที่ กับเรื่องราวเดิมๆ แต่ทว่าในความ “น้ำเน่า “ ซ้ำซากกลับยังคงได้รับความนิยมซึ่งปรากฏให้เห็นจากเรตติ้งของละครโทรทัศน์เหล่านั้น ความนิยมของมวลชนหมู่มากนี้จึงเป็นเครื่องสะท้อนถึงสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดีว่าสังคมต้องการหรือให้ความสนใจกับสิ่งใด เพราะละครโทรทัศน์มิใช่สื่อที่เป็นเพียงภาพสะท้อนสังคมเท่านั้น แต่ในทางกลับกันยัง “ประกอบสร้าง” ภาพจำของสังคมขึ้นโดยผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “ความบันเทิง” มีคำกล่าวถึงจิตวิทยาของผู้ชมละครโทรทัศน์ว่า
ผู้ชมชมละครโทรทัศน์ในเรื่องราวเดิมๆ ได้อย่างไม่รู้เบื่อเนื่องจาก “ผู้ชมดูเอารสไม่ได้ดูเพื่อเอาเรื่อง” นั่นเอง จากคำกล่าวนี้นำมาซึ่งการศึกษาของบทความวิชาการนี้เพื่อมุ่งเน้นศึกษาถึงองค์ประกอบอันแข็งแรงที่ซ้อนเร้นอยู่ในโครงสร้างของละครโทรทัศน์เหล่านั้น โดยใช้วิธีการรื้อโครงสร้างเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดละครโทรทัศน์ดังกล่าวถึงได้ถูกนิยมผลิตซ้ำบ่อยครั้งแม้จะมีผู้ชมต่างยุคสมัยกันกว่า 60 ปี

       การศึกษานี้จึงเป็นการรวบรวม วิเคราะห์ สรุปผลจากการศึกษาหลายแหล่ง เช่นหนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์บทความวิชาการ ตลอดจนข้อมูลสารสนเทศ และการใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาซึ่งแนวทางการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยจากโครงเรื่องที่ถูกผลิตซ้ำ ด้วยวิธีการการสร้างทวนซ้ำใหม่จากองค์ประกอบที่มีความแข็งแรง หรือเรียกว่า“การค้นหาสาระในน้ำเน่า” เพื่อนำมาสู่แนวทางในการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยต่อไป

คำสำคัญ : ละครโทรทัศน์ไทย การผลิตซ้ำ  การรื้อโครงสร้าง การสร้างทวนซ้ำใหม่

Abstract

Thai television drama frequently has produced plots and storylines from the favorite fictions or legacy legends. A after successful broadcast with high rating, the drama will be remake again and again in different ages. The most remake Thai television dramas are Mae Nak Phra khanong and Phu Kong Yod Rak. These drama were remake for 7 times, while Baan Sai Tong, Khu Kam and Poo Yai Lee Gub Nang Ma were remake for 6 times. These fives are the most remaking television dramas in Thailand.

       The soap opera is defined for Thai television drama because the numbers of remakes are bogged down in same plots and storylines, but the soap operas still popular among the audiences apparently from the rating. The popularity of the mass audiences is a mirror of Thai social and Thai culture constructs what social want or interest because the television drama is not just a mirror of the society but it constructs, the society through the appliance called “entertainment”. There is a word about the psychology of the audience:
the audience does not bore the soap operas because the audience watchs them for a favor not a story. This speech persuaded this journal aimed to study substantial components hiding in the Thai television drama construction by the deconstruction method to discover the reasons why the mentioned soap operas had been reproduced many times even the audience is 60 years difference.

This study is to collect, analyze and summarize the studies from multiple sources such as books, textbooks, thesis, dissertations, journals and information then use the theory of the data analysis conducted the guidelines to create the remake construction of Thai television drama by reconstructing of the substantial components or “find the benefit in soap operas” to conduct guidelines to creating Thai television drama.

Keywords: Thai Television Drama, Remake, Deconstruction, Reconstruction


Article Details

How to Cite
มังกรวงษ์ แ. (2017). แนวทางการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยที่ผลิตซ้ำโครงเรื่องเดิม : Guidelines for Creating Thai Television Drama from the Remake of Existing Drama Construction. Asian Creative Architecture, Art and Design, 24(1), 121–130. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/92412
Section
Academic Articles