ผลของการฝึกความคล่องตัวของนักศึกษาที่เรียนวิชาเทเบิลเทนนิส สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตลำปาง

Main Article Content

กัลยา พิพัฒน์ไพศาลกูล
ธนกร ช้างน้อย
พิชัยณรงค์ กงแก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความคล่องตัวของโปรแกรมฝึก แบบปกติ โปรแกรมฝึกแบบเอส เอ คิว และโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชาเทเบิลเทนนิส ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2558 สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตลำปางอายุระหว่าง18-22 ปี จำนวน 90 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุมโปรแกรมฝึกแบบปกติ กลุ่มทดลองที่ 2 โปรแกรมฝึกแบบเอส เอ คิว (SAQ) และกลุ่มทดลองที่ 3 โปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ (SAF) โดยทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และทำการทดสอบความคล่องตัวโดยใช้แบบทดสอบก้าวเต้น 20 วินาที (Nine-Square20 Sec.) และจดบันทึกผลการศึกษา 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติ Independent Sample t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำแบบ Repeated Measures Analysis of Variance (ANOVA, Tukey’s post hoc test) ในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคู่ที่ p<.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุมที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบปกติ ก่อนการฝึก (\bar{\chi }=7.69 รอบ) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (\bar{\chi }=7.80 รอบ) และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (\bar{\chi }=7.92 รอบ) กลุ่มทดลองที่ 2 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ คิว ก่อนการฝึก  (\bar{\chi }= 7.74 รอบ) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (\bar{\chi }= 8.39 รอบ) และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (\bar{\chi }= 9.53 รอบ) กลุ่มทดลองที่ 3 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ ก่อนการฝึก (\bar{\chi }= 7.68 รอบ) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 (\bar{\chi }= 9.53 รอบ) และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 (\bar{\chi }= 9.69 รอบ) และค่าเฉลี่ยของความคล่องตัว ระหว่างกลุ่มหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองที่ 2 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ คิว ค่าเฉลี่ยของความคล่องตัวดีกว่ากลุ่มทดลอง  ที่ 1 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบปกติเล็กน้อย กลุ่มทดลองที่ 3 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ ค่าเฉลี่ยของความคล่องตัวดีกว่ากลุ่มทดลองที่1 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบปกติเล็กน้อย กลุ่มทดลองที่ 3 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ ค่าเฉลี่ยของความคล่องตัวแทบจะไม่แตกต่างกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ฝึกโปรแกรมฝึกแบบเอส เอ คิว ดังนั้น โปรแกรมฝึกแบบเอส เอ เอฟ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวให้กับกลุ่มศึกษาได้จริงและสามารถนำไปใช้พัฒนาสำหรับการฝึกความคล่องตัวของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสและกีฬาชนิดอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

THE EFFECT OF AGILITY TRAINING IN STUDENTS ENROLLED FOR TABLE TENNIS SUBJECT AT THE INSTITUTE OF PHYSICAL EDUCATION LAMPANG CAMPUS

The purpose of this research was to study agility training. The subjects of the study are comprised of students between the ages of 18 and 22 who enrolled in table tennis course during the 2015 academic year at the Institute of Physical Education Lampang campus. All subjects were divided into three groups of 30 students: the first group was the control group, the second group participated in SAQ training program, and the third group participated in the SAF training program. The training was conducted 3 days a week for 8 weeks. All groups were tested using the Nine Square 20 seconds by 3 times testing (i.e. before the experiment, after the fourth week, and after the eighth week). The data was analyzed by using the SPSS program and standard deviations, two – way Anova analysis of variance, and pair wise comparisons by Tukey’s HSD test employed for statistical significance at the 0.05 level.

The result of this study, the first group was the control group were found as follows: \bar{\chi } = 7.69 rounds before the experiment \bar{\chi } = 7.80 rounds after the fourth week, and \bar{\chi } = 7.92 rounds after eight weeks. Following the same analysis procedure, the second group participated in the SAQ training program, results were \bar{\chi } = 7.74 rounds before the experiment, \bar{\chi } = 8.39 rounds after four weeks and \bar{\chi } = 9.53 rounds after eight weeks. Finally, the third group participated in the SAF training program, results showed that \bar{\chi } = 7.68 rounds before the experiment, \bar{\chi } = 9.53 rounds after fourth weeks, and \bar{\chi } = 9.69 rounds after eighth weeks.

Article Details

How to Cite
พิพัฒน์ไพศาลกูล ก., ช้างน้อย ธ., & กงแก้ว พ. (2017). ผลของการฝึกความคล่องตัวของนักศึกษาที่เรียนวิชาเทเบิลเทนนิส สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตลำปาง. Journal of Graduate Research, 8(1), 169–182. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/95825
Section
Research Article