ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ประกาทานัง
  • วารี กังใจ
  • สหัทยา รัตนจรณะ

คำสำคัญ:

โปโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม, กระบวนการกลุ่ม, ผู้สูงอายุ, ความว้าเหว่

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กลุ่ม ตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 คน เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ และมีการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คนกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล เก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ความว้าเหว่ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 และโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่ง ตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกล่มุ เปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่    ของบอนเฟอโรนี

            ผลการศึกษา พบว่าคะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05) คะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลน้อยกว่าในระยะก่อนการทดลองและกลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .001) สรุปได้ว่า โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว้าเหว่ลดลงได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย