ผลการจัดการเรียนรู้แบบทีมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อ การเรียนของนักศึกษาพยาบาล รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ วงศ์จุลชาติ
  • สุนีย์ อินทร์สิงห์
  • สุมาลี ถาใจ
  • นรินพร วโรภาสตระกูล

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบทีม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบทีมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาล รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนของนักศึกษารายบุคคล (Individual Readiness Assessment Test, I-RAT) มี ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ .79 แบบทดสอบความรู้รายกลุ่ม (Group Readiness Assessment Test, G-RAT) ซึ่งเป็นแบบทดสอบเดียวกันกับ I-RAT และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทีม มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธ์ิอัลฟาของครอนบาซ (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สิถิติพรรณนาการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ทีคู่ (paired t - test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีความรู้ก่อนเข้าทีมและหลังเข้าทีม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบทีมรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.50, SD=.50) โดยมีความพึงพอใจระดับมากในด้านการทำงานเป็นทีม (mean = 3.9, SD=.55) รองลงมาคือด้านทักษะในการสื่อสาร (mean = 3.76, SD= .73)

            การวิจัยครั้งนี้พบว่าการจัดการเรียนรู้แบบทีมในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียน การเรียนแบบทีมเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ ที่จัดการเรียนการสอนกับนักศึกษากลุ่มใหญ่ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย