การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมความร่วมรู้สึกในการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นุสรา นามเดช
  • ชาริณี ตรีวรัญญู
  • รุ้งนภา ผาณิตรัตน์

คำสำคัญ:

ความร่วมรู้สึก, การพยาบาล, การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์, จิตตปัญญาศึกษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมความร่วมรู้สึกในการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อความร่วมรู้สึกในการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลการดำเนินการวิจัยมี 6 ระยะ ได้แก่ (1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (2) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน (3) การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนกับนักศึกษาพยาบาล กลุ่ม ที่ 1 (4) การปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนภายหลังจากการนำไปทดลองใช้ (5) การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนกับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มที่ 2 (6) การนำเสนอกระบวนการเรียนการสอน ฉบับสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงรวม 16 คน ผู้วิจัยทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนในวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ๆ ละ 5 วันๆ ละ 6 ชั่วโมง ต่อเนื่องทุกวัน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบความร่วมรู้สึกในการพยาบาล (2) แบบประเมินความร่วมรู้สึกในการปฏิบัติการพยาบาล และ (3) แบบบันทึกการสะท้อนคิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะหเ์นื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอน 5 ขั้นที่มีลักษณะเป็นวงจรต่อเนื่อง ได้แก่ (1) ขั้นสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง (2) ขั้นเปิดรับประสบการณ์การพยาบาล (3) ขั้นทบทวนและใคร่ครวญประสบการณ์ (4) ขั้นสะท้อนความเข้าใจประสบการณ์และ (5) ขั้นสรุปการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแล้วพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความร่วมรู้สึกในการพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาทุกคนเกิดการเปลี่ยนแปลงความร่วมรู้สึกในการพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-05