แรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศตามมุมมองของพยาบาลไทย PERSUASION OF INTERNATIONAL MIGRATION PERCEIVED BY THAI NURSES

ผู้แต่ง

  • สุภาพร วรรณสันทัด
  • นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ
  • พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์
  • นันทกา สวัสดิพานิช
  • กฤษดา แสวงดี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, แรงผลัก, แรงดูด, การย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ, พยาบาลไทย, Motivation, push factors, pull factors, international migration, Thai nurses

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศตามมุมมองของพยาบาลไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการพยาบาลในต่างประเทศด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 14 คน และ 2) กลุ่มพยาบาลที่สนใจจะไปทำงานในต่างประเทศด้วยการสนทนากลุ่มจำนวน 14 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 2 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้เทคนิคการบอกต่อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มตามแนวคำถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศ ระหว่างธันวาคม 2554 – สิงหาคม 2555 มีการบันทึกเทปขณะสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มแล้วนำมาถอดเทปแบบคำต่อคำ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการให้รหัส จัดลำดับและเปรียบเทียบข้อมูล

ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจที่ดึงดูดให้พยาบาลไทยย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศมีหลายประเด็นและแตกต่างตามบริบทของแต่ละบุคคล โดยแรงดึงดูดตามมุมมองของพยาบาลไทยทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันใน 5 ประเด็น คือ 1) ได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่า 2) แสวงหาประสบการณ์ใหม่ 3) ไปเพื่อสร้างอนาคตครอบครัว 4) ไปเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และ 5) ไปเพื่อมีโอกาสศึกษาต่อ ซึ่งค่าตอบแทนที่ดีกว่าเป็นแรงดึงดูดที่พยาบาลทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้ตรงกันและกล่าวถึงมากที่สุด นอกจากนี้พยาบาลไทยยังกล่าวถึงแรงผลักของการย้ายถิ่นไปทำงานในต่างประเทศซึ่งพยาบาลทั้ง 2 กลุ่มสะท้อนมุมมองที่คล้ายคลึงกัน คือ 1) ไม่พึงพอใจระบบและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 2) ขาดความก้าวหน้าในตนเองและวิชาชีพ และ 3) ค่าตอบแทนน้อยไม่เหมาะกับภาระงาน ข้อเสนอจากการวิจัยคือการธำรงรักษาพยาบาลไทยไว้ในระบบสุขภาพควรปรับปรุงระบบบริหารจัดการอัตรากำลังคนทางการพยาบาลและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน โดยมีระบบการจ้างงานที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าเชิงวิชาชีพ และเพิ่มค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับภาระงาน

Abstract

The purpose of this qualitative study was to understand the motivation of international migration of Thai nurses. The data were collected from 2 groups: 1) a group of 14 nurses who had experiences working abroad were recruited for in-depth interviews, and 2) a group of 16 nurses who were processing to work abroad, 14 of them were recruited to participate in focus group interviews and 2 of them were willing for the in-depth interviews. The participants were purposively selected using snowball technique. The semi-structured interview guidelines asking about motivation of international migration were used. The data were collected during December 2011 – August, 2012. The interview were recorded and transcribed verbatim for content analysis by coding, ordering, and comparing.

The results revealed that the factors that motivate Thai nurses for international migration were varied according to the individual context. The motivation that pull them to migrate expressed by both groups of nurses emerged similarly in five themes: 1) obtaining better payment; 2) seeking new experiences; 3) building better future for the family; 4) improving the quality of life; and 5) gaining opportunity for further study. The better payment was the most attractive motivation expressed by both groups of nurses. Moreover, both groups of nurses expressed similar motivations that push them for international migration. Three themes were emerged including: 1) unsatisfied working system and environment; 2) poor promotion and limited nursing career path; and 3) low payment compared to work load. The study suggests the policy implication for maintaining Thai nurses in the health system. Efforts should be made on improvement of staffing management and supportive working environment by proposing various hiring system, enhancing the opportunity for professional growth and nursing career path, including increasing salary.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย