Knowledge, Perception and Oral health care behaviors Among Diabetes Patients in Wang sub - district, Phon Tong District, Roi-Et Province

Authors

  • Petcherut Sirisuwan ROI - ET Rajabhat University

Keywords:

Knowledge, Perception, Oral health care behaviors, Diabetes patients, Knowledge, Perceived benefits, Oral health care behaviors, Diabetes patients, ความรู้, การรับรู้ประโยชน์, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 99 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม 0.75 ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์และการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานใช้วิธีแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ได้ค่าความเชื่อมมั่นเท่ากับ 0.70 การรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานเท่ากับ 0.80 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.53  มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 39.39 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 53.54  มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 44.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 48.48 มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 32.32 มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 77.78 พบมากที่สุดคือ มีกลิ่นปาก ร้อยละ 28.57 มีโรคประจำตัวอื่นร่วม ร้อยละ 53.54 ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วม ร้อยละ 19.19 มีความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์และการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 44.44 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.62 ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ข้อ 12. ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่อนนอน ตอบถูกทั้งหมด ร้อยละ 100 รองลงมาคือ ข้อ 9. หากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีก่อนจะไปถอนฟัน ตอบถูกร้อยละ 97.98 และข้อ 1. โรคเบาหวานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก ตอบถูกร้อยละ 96.97 ข้อคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานตอบถูกน้อยที่สุด 3 อันดับ คือ ข้อ 5. การขูดหินปูนจะทำให้ฟันห่าง และมีอาการเสียวฟัน ตอบถูกร้อยละ 14.14 ข้อ 8. การดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ มีผลต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ตอบถูกร้อยละ 16.16 และข้อ 7. การเคี้ยวหมากทำให้ฟันสะอาดแข็งแรง ตอบถูกร้อยละ 74.75 การรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.93 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 39.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.57 และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 55.56 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 36.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.04 ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับผู้ป่วยเรื่องผลของการรับบริการ         ทันตกรรม และควรจัดโปรแกรมเพื่อสร้างความความรู้ และความตระหนักในการลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น การเคี้ยวหมาก การดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ ในผู้ป่วยเบาหวานและในผู้สูงอายุ

Knowledge, Perceived benefits and Oral health care behaviors Among Diabetes Patients in Wang sub - district, Phon Tong District, Roi-Et Province

This study aimed to study knowledge, Perceived benefits and oral health behavior among diabetes patients in Wang sub - district, Phon Tong District, Roi-Et Province. This study was a cross-sectional survey study. The data were collected by using questionnaire in 99 diabetic patients. Data were collected using questionnaires that were tested by content validity and reliability, the reliability overall of Cronbach’s alpha coefficient was 0.75, Knowledge about periodontal disease and oral health care of diabetic patients using Kader-Richardson method. (Kuder-Richardson) has a value of 0.70, Perceived benefits of oral health care for diabetic patients were 0.80 and the oral health behaviors of diabetic patients were 0.76. Data were analyzed using descriptive statistics percentage, arithmetic mean, Standard Deviation, maximum and minimum. The results showed that most of the diabetic patients were female, 52.53% were 60 years old or older, 39.39% had primary education, 53.54% had marital status, 44.44%, 48.48% had a monthly income, and less than 3,000 baht 32.32%. Oral health problems were 77.78%, the most common were bad breath (28.57%). Another common disease was 53.54%, most of which were 19.19% of Hypertension. Knowledge of periodontal disease and oral health care in high level 44.44%, the mean score was 10.94 (S.D. =1.62). Diabetes patients have the most accurate knowledge about oral health care. The top three are: 12. To brush the teeth at least 2 times a day, morning and night, the answer is 100 percent, followed by 9. If diabetic patients have high blood sugar levels, they should control their sugar levels well before they are able to remove them. 97.98% of them are diabetic and 1. Diabetes is another factor that causes oral disease 96.97%. The question that diabetic patients have the least three is 5. Scaling of plaque will keep the teeth away. 14.14 percent of them had sensitive teeth. 8. Drinking or smoking Effect of gingivitis on gingivitis were 16.16% and 7. Chewing gum made teeth clean and healthy was 74.75%. Perceived benefits in oral health care in high level 99.93%, the mean score was 39.47 (S.D. =3.57). And had Oral health care behaviors in high level 55.56%, the mean score was 36.18 (S.D. =3.04). It is recommended that provide knowledge and understanding to patients about the results of dental services. And should be programmed to create knowledge and awareness of risk reduction for oral health problems such as chewing, binge drinking or smoking in diabetic patients and in the elderly.

 

References

จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และคณะ. (2552). การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองสำหรับครอบครัว. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ทันตสาธารณสุข.กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมชุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินตนา ธรรมกันหา. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1), 17-30.
ปรางทิพย์ ภูสระทอง. (2556). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอกตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. ค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560, จาก https://203.157.186.16/
kmblog/fulltext/1468161696.%2025590615_Prangtip_Namon.
เพียรทอง มูลเทพ. (2552). การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสาราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัจน์กร ธรรมวณิชย์.(2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ กับสภาวะปริทันต์ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดบุรีรัมย์. ค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560, จาก https://dental.anamai.moph.go.th/elderly/paper/paper.php?id_a_1=15.
โรงพยาบาลโพนทอง. (2560). สถานการณ์โรคเบาหวาน. ฐานข้อมูล HOSxP โรงพยาบาลโพนทอง ตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ.2550-2558. ค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.thaincd.com/ 2016/mission/documents.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

Sirisuwan, P. (2018). Knowledge, Perception and Oral health care behaviors Among Diabetes Patients in Wang sub - district, Phon Tong District, Roi-Et Province. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 73–85. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/104547