การควบคุมอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชักวัยสูงอายุเปรียบเทียบกับวัยผู้ใหญ่

Authors

  • ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัจฉราภรณ์ ทองเย็น
  • ชูศักดิ์ ลิโมทัย

Keywords:

ลมชัก, สูงอายุ, การควบคุมอาการชัก, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

Abstract

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเกณฑ์เป็นสังคมสูงวัยแล้วและสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นทุกปี  ความชุกและอุบัติการณ์ของโรคลมชักในผู้ป่วยวัยสูงอายุพบได้มากกว่าผู้ป่วยช่วงวัยอื่น ๆ  ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย โรคและยาที่รับร่วม ทำให้การควบคุมอาการชักอาจจะแตกต่างจากวัยผู้ใหญ่  การศึกษาแบบ unmatched case-control study นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก การควบคุมอาการชัก และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยโรคลมชักวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) โดยเปรียบเทียบกับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ (18-59 ปี)   ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคลมชักครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน โดยเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษา ตลอดจนประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา  ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 120 คน เป็นผู้ป่วยวัยสูงอายุและวัยผู้ใหญ่กลุ่มละ 60 คน พบว่า ผู้ป่วยโรคลมชักวัยสูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95) เริ่มเป็นโรคลมชักก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ มีสาเหตุของโรคลมชัก จำนวนและชนิดของอาการชักไม่แตกต่างจากผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ แต่เมื่อพิจารณาผลการควบคุมอาการชักในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยวัยสูงอายุมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่ปลอดจากอาการชักมากกว่าวัยผู้ใหญ่ (ร้อยละ 65 และ 45 ตามลำดับ, P=0.028) และจากข้อมูลยากันชักที่ใช้ในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยวัยสูงอายุส่วนใหญ่ใช้ยากันชักเพียง 1 รายการและมีสัดส่วนมากกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ (ร้อยละ 45 และ 26.7 ตามลำดับ, P=0.035) สำหรับผลการประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยวัยสูงอายุจะรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในหัวข้อรู้สึกไม่มั่นคงด้านการเคลื่อนไหวมากกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ในขณะที่ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่จะรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในหัวข้อมีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง น้ำหนักเพิ่ม และง่วงนอนมากกว่าวัยสูงอายุ โดยสรุปผู้ป่วยโรคลมชักวัยสูงอายุตอบสนองต่อยากันชักและสามารถควบคุมอาการชักได้ดีกว่า รวมทั้งรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์น้อยกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (4 มกราคม 2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2560, จาก http://thaitgri.org/?p=37841.
Baker, G. A., Jacoby, A., Buck, D., Brooks, J., Potts, P., & Chadwick, D. W. (2001). The quality of life of older people with epilepsy: findings from a UK community study. Seizure, 10(2), 92-99.
Brodie, M. J., Elder, A. T., & Kwan, P. (2009). Epilepsy in later life. Lancet Neurol, 8(11), 1019-1030.
Canuet, L., Ishii, R., Iwase, M., Ikezawa, K., Kurimoto, R., Azechi, M., . . . Takeda, M. (2009). Factors associated with impaired quality of life in younger and older adults with epilepsy. Epilepsy Res, 83(1), 58-65.
Chen, L. A., Cheng, S. J., & Jou, S. B. (2012). Epilepsy in the Elderly. International Journal of Gerontology, 6(2), 63-67.
Chuaichum C. (2012). Selected factors related to medication adherence in epileptic patients [master thesis]. Chulalongkorn University.
Clinical Practice Guidelines for Epilepsy. (2016). Retrieved May 19, 2017 http://thaiepilepsysociety.com/wp-content/uploads/2016/11/แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์_2015.pdf
Forsgren, L., Bucht, G., Eriksson, S., & Bergmark, L. (1996). Incidence and clinical characterization of unprovoked seizures in adults: a prospective population-based study. Epilepsia, 37(3), 224-229.
Glauser, T., Ben-Menachem, E., Bourgeois, B., Cnaan, A., Guerreiro, C., Kalviainen, R., . . . Tomson, T. (2013). Updated ILAE evidence review of antiepileptic drug efficacy and effectiveness as initial monotherapy for epileptic seizures and syndromes. Epilepsia, 54(3), 551-563.
Hauser, W. A., Annegers, J. F., & Kurland, L. T. (1993). Incidence of epilepsy and unprovoked seizures in Rochester, Minnesota: 1935-1984. Epilepsia, 34(3), 453-468.
May, T. W., Pfafflin, M., Brandt, C., Furatsch, N., Schmitz, B., Wandschneider, B., . . . Stefan, H. (2015). Epilepsy in the elderly: restrictions, fears, and quality of life. Acta Neurol Scand, 131(3), 176-186.
Moran, N. F., Poole, K., Bell, G., Solomon, J., Kendall, S., McCarthy, M., . . . Shorvon, S. D. (2004). Epilepsy in the United Kingdom: seizure frequency and severity, anti-epileptic drug utilization and impact on life in 1652 people with epilepsy. Seizure, 13(6), 425-433.
Olafsson, E., Ludvigsson, P., Gudmundsson, G., Hesdorffer, D., Kjartansson, O., & Hauser, W. A. (2005). Incidence of unprovoked seizures and epilepsy in Iceland and assessment of the epilepsy syndrome classification: a prospective study. Lancet Neurol, 4(10), 627-634.
Phabphal, K., Geater, A., Limapichat, K., Sathirapanya, P., & Setthawatcharawanich, S. (2013). Risk factors of recurrent seizure, co-morbidities, and mortality in new onset seizure in elderly. Seizure, 22(7), 577-580.
Phromphak C. (2013). Aging society in Thailand. Retrieved September 9, 2017 http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF
Stefan, H., May, T. W., Pfafflin, M., Brandt, C., Furatsch, N., Schmitz, B., . . . Kerling, F. (2014). Epilepsy in the elderly: comparing clinical characteristics with younger patients. Acta Neurol Scand, 129(5), 283-293.
Tanaka, A., Akamatsu, N., Shouzaki, T., Toyota, T., Yamano, M., Nakagawa, M., & Tsuji, S. (2013). Clinical characteristics and treatment responses in new-onset epilepsy in the elderly. Seizure, 22(9), 772-775.

Downloads

Published

2018-04-04

How to Cite

วัฒนวิจิตรกุล ธ., ทองเย็น อ., & ลิโมทัย ช. (2018). การควบคุมอาการชักในผู้ป่วยโรคลมชักวัยสูงอายุเปรียบเทียบกับวัยผู้ใหญ่. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 14–26. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/106623