ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกบนหอผู้ป่วย

Authors

  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • เปรมฤดี ศรีวิชัย
  • สุรางคณา ไชยรินคำ
  • ปภัชญา ธัญปานสิน

Keywords:

ความเครียด การจัดการความเครียด นักศึกษาพยาบาล ฝึกปฏิบัติงาน, ความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, ฝึกปฏิบัติงาน, stress, nursing students, clinical nursing practice

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลครั้งแรกบนหอผู้ป่วย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความเครียด แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากัน เท่ากับ 0.81 ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดของนักศึกษาขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.10 รองลงมามีความเครียดในระดับต่ำ ร้อยละ 48.90 ไม่พบนักศึกษาที่มีความเครียดในระดับสูง ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์มีความสัมพันธ์กับความเครียดในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาพยาบาลกับพยาบาลพี่เลี้ยง บุคลากรในหอผู้ป่วย ระหว่างนักศึกษากับเพื่อนในกลุ่ม และด้านสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นควรมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา และการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ช่วยให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ในสภาวะที่ปราศจากความกดดัน ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Stress and factors related to stress of nursing students regarding the first clinical nursing practice

This descriptive research aimed to identify stress levels and factors related to stress in nursing students during the first clinical practice at Boromrajonani College of Nursing Phayao. The participants were 90 second year nursing students studying in the second semester, academic year 2016. The research tools consisted of stress evaluation questionnaire, factors affecting stress questionnaire. The internal consistency Cronbach’s alpha coefficient of stress evaluation questionnaire and factors affecting stress questionnaire were equal  0.81. Results showed that in overall the stress level at first time of clinical practice was at moderate level (51.1%) and 48.90% were mild level. The study also revealed that there was no nursing student who had high level of stress during their first clinical practice. Leaning curriculum was positively associated with stress level and the relationship between nursing students and clinical teachers was negatively related to stress level. The factors were not associated with stress levels were relationship with registered nurses and staffs, relationship with friends, and environment factors. Good relationship between nursing faculty and students and the curriculum of clinical nursing practice to reduce stress should be promoted in order to achieve learning outcomes.

References

กล้วยไม้ ธิพรพรรณ, นงลักษณ์ แก้วศรีบุตร และจารุวรรณ ศิลา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงาน วิชาแนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น.
จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ และสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียดและความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9(3), 36-50.
ชุทิมา อนันตชัย, กรองทิพย์ นาควิเชตร และเริงจิตร กลันทปุระ. (2554). การศึกษาสาเหตุ ระดับความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัย วงษ์ชวลิตกุล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. (กุมภาพันธ์-มิถุนายน),15-22.
ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. (2553). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 1-11.
มณฑา ลิ้มทองกุล และสุภาพ อารีเอื้อ. (2552). แหล่งความเครียด การเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 15(2), 192-205.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์. 225(1), 7-16.
วิไลพร ขำวงษ์, สุดคะนึง ปลั่งพงษ์พันธ์ และทานตะวัน แย้มบุญเรือง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์, 10(1), 78-87.
ศุภวรรณ สีแสงแก้ว, เปรมฤดี ดำรักษ์, พัชรินทร์ คมขำ, พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน และวานีตา สาเมาะ. (2557). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา บุคลากรและอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,7(4), 119-133.
Lazarus R. S, & Folkman S. (1984). Stress appraisal and coping. New York: Springer Publishing Company.
Najafi, D., Sima, M., Ghafarian, S., & Zinat, M. (2015). Nursing students in Iran identify the clinical environment stressors. International Journal of Nursing Practice. 2(1), 297-302.
Papathanasiou, I. V., Tsaras, K., Neroliatsiou, A. & Roupa, A. (2015). Stress: concepts, theoretical models and nursing interventions. American Journal of Nursing Science. 4(2-1), 45-50.
Pulido, M., Augusto, J. M., & Lopez, E. (2011).Sources of stress in nursing students: a systemic review of quantitative studies. International Nursing Review. 5(9), 15-25.
Rajieswaran, L., Pulido, M., Augusto, J. M., & Lopez, E. (2011). Clinical experiences of nursing students at a selected institute of health sciences in Botswana. Health Science Journal. 10(6), 1-6.
Reeve, K. L., Shumaker, C. J., Yearwood, E. L., Crowell, N. A., Riley, J. B., (2013). Perceived stress and social support in undergraduate nursing students' educational experiences. Nurse Educ. Today. 33(4): 419-424.
Zhao, F., Lei, X., He, W, W., Gu, Y., & Li, D. (2016). The study of perceived stress, coping strategy and self-efficacy of Chinese undergraduate nursing students in clinical practice, International Journal of Nursing Practice. 21: 401-409.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

ฝึกฝน ก., ศรีวิชัย เ., ไชยรินคำ ส., & ธัญปานสิน ป. (2018). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการขึ้นฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลครั้งแรกบนหอผู้ป่วย. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 161–168. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/109528