การพัฒนาบทเรียน e-learning แบบปฎิสัมพันธ์เพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการตรวจสภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาลศาตร์ชั้นปีที่ 3วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

Authors

  • Daungdao Ubolyaem Boromarajonani College of Nursing, Saraburi 18/64 Tesaban 4 Rd. Muang Saraburi
  • นงคาร รางแดง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

Keywords:

บทเรียน e-learning แบบปฎิสัมพันธ์, การตรวจสภาพจิต, ประสิทธิภาพ, Interactive e-learning, Mental Status Examination, Efficiency

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเลิร์นนิ่งแบบปฎิสัมพันธ์  เพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการตรวจสภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ส่วนกระบวนการทดลองได้นำไปทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี จำนวน 30 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 91 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  กระบวนการนำสื่อการเรียนการสอนไปทดลองใช้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง 3 คน ศึกษาบทเรียน และสัมภาษณ์เพื่อปรับปรุง 2. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง 12 คน ศึกษาบทเรียน ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบเพื่อหาแนวโน้มประสิทธิภาพของสื่อ สัมภาษณ์และปรับปรุงแก้ไขบทเรียน 3.กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ศึกษาบทเรียน ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ระบบการจัดการเรียนโดย e learning เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลประกอบด้วย แบบฝึกหัด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ภายหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละค่าเฉลี่ย ซึ่งนำมาใช้ในการคำนวณหาประสิทธิภาพของสื่อโดยคำนวณจากคะแนนเฉลี่ยของจำนวนข้อที่นักศึกษาตอบถูก คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ จำนวนนักศึกษาและนำมาคำนวณเป็นร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าได้สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพด้านเนื้อหาและเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก และดีตามลำดับโดยมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.86/82.00 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.21) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน  เพื่อเป็นกลไกในการเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาความรู้ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นสื่อเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมในการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ

The Development of Interactive E-learning of Mental Status Examination for the Third Year Nursing Students of Boramarajonani College of Nursing, Saraburi

The purpose of this study was to develop the interactive e-learning of mental status examination for the third year nursing students of Boramarajonani College of Nursing, Saraburi. From the population 91 third year nursing students, a sample size of 30 nursing students was chosen using simple random sampling technique. The process of the study consisted of three steps; 1.The three sample of nursing students studied the interactive e-learning of mental status examination and were interviewed for improvement; 2. A group of 12 nursing students who have been randomly selected studied the interactive e-learning, made the tests and exercises to test  the efficiency trend, were interviewed for the second improvement; 3. A group of 30 nursing students who have been randomly selected studied the interactive e-learning, made the exercises and tests to test the efficiency trend. The instrument of this study consisted of the interactive e-learning of mental status examination, exercises, achievement test, and satisfaction questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics of percentage, mean, standard deviation, and paired t-test. The efficiency of the interactive e-learning were calculated as a percentage by using the score of students’ answers, full score of the exercises and tests, and the number of the students. The results revealed that the quality of the content and educational technology was very good and good level, respectively. The efficiency of the interactive e-learning of mental status examination (E1/E2) was 82.86/82.00 in accordance to the standard. The posttest score was significantly higher than pretest score (p< .001). Satisfaction of nursing students after using the interactive e-learning of mental status examination for the third year nursing students was at high level ( gif.latex?\bar{x}= 4.21). In summary, the interactive e-learning of mental status examination for the third year nursing students can be used as a teaching media for enhancing the learning achievement and preparing for clinical practice.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

Ubolyaem, D., & รางแดง น. (2018). การพัฒนาบทเรียน e-learning แบบปฎิสัมพันธ์เพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการตรวจสภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาลศาตร์ชั้นปีที่ 3วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 169–178. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/111805