แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Authors

  • ประจวบ แหลมหลัก คณะแพทย์สาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, แนวทาง, quality of life, elder, guideline

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามข้อมูลส่วนบุคคล ระดับบทบาทของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา สุ่มกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 300 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One way ANOVAวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิเคราะห์ พบว่า คุณภาพชีวิตทั้งภาพรวม และรายด้านคือด้านวัตถุวิสัย และด้านจิตวิสัยอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยของคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตเชิงจิตวิสัยด้านสภาพเศรษฐกิจ อยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกันคือ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และสถานภาพการเป็นอยู่ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคือ การพัฒนาฐานข้อมูล กิจกรรมการมีส่วนร่วม การแสวงหาและจัดระบบบริหารงบประมาณ กิจกรรมเสริมรายได้ และการติดตามประเมินผล

จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนต่อไป

Guideline for Quality of life development of elders in Jumpawai sub district, Muang district, Phayao province.

This descriptive research aimed to identify quality of life(QOL) level, compare QOL level among personal characteristics, identify community role on QOL development and construct guideline for QOL development of elders in Jumpawai sub district, Muang district, Phayao province. Samples were 300 elders selected by stratified sampling. Data were collected by using questionnaire. Quantitative data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation t-test and One-way ANOVA and qualitative data were analyzed by content analysis.

                Results showed that both total part and separate part; objective and subjective QOL, were in high level but there was any issue of objective QOL; economic, was in low level. The study also revealed that factors made different QOL were age, marital status, occupation and living status. Guideline for QOL development composted of database development, participatory activities construction, budget seeking and management, income additional activities and evaluation.

             The result will be used as a guideline for planning, development QOL of elders for better QOL.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

แหลมหลัก ป. (2018). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 97–107. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/113073