การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณีในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ The Development of Case Management System for Patients Undergoing an Open Heart Surgery Chiangrai Prachanukroh Hospital

Authors

  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ปริศนา วะสี
  • มยุรฉัตร ด้วงนคร
  • บุษบา อัครวนสกุล

Keywords:

การพัฒนาระบบ, การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ, Developing System, Case Management, Open Heart Surgery Patients

Abstract

           การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณี และเพื่อประเมินผลการพัฒนารรูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยใช้การจัดการรายกรณี ได้แก่ อัตราตาย จำนวนวันนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย และการสัมภาษณ์ทีมสหสาขาผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยตัดหัวใจ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณี โดยการทบทวนวรรณกรรม ระดมสมอง และวิพากษ์ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 3 การประเมินผล โดยทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณีกับผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ จำนวน 36 คน ประเมินผลเปรียบเทียบอัตราตาย จำนวนวันนอนพักรักษาในโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับกลุ่มตัวอย่างก่อนการพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณี 36 ราย

            ผลการวิจัย พบว่า การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณี มีปัญหาการดำเนินงาน 4 ด้าน 1) ด้านจำนวนพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในแผนกผู้ป่วยนอก 2) ปัญหาด้านผู้ประสานงาน 3) ปัญหาด้านบทบาทหน้าที่ของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในแผนกผู้ป่วยใน และ 4) ปัญหาด้านระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยใน รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณี ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการดูแลทางคลินิกผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 2) แนวปฏิบัติการดูแลทางคลินิกผู้ป่วยผ่าตัดลิ้นหัวใจ 3) แนวปฏิบัติการดูแลเพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดทั้งในกรณีทั่วไปและฉุกเฉิน 4) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และ 5) แนวทางและขั้นตอนการนัดตรวจติดตามประเมินผลผู้ป่วยนหลังการหัวใจแบบเปิด ส่วนผลการประเมินการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณี พบว่า ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตในช่วงของการดูแลทั้งก่อนและหลัง กลุ่มหลังมีจำนวนวันนอนเพิ่มขึ้น และพบภาวะแทรกซ้อนมากกว่ากลุ่มก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01 และ p<.05 ตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

            รูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรรายกรณีของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีจุดเด่นคือ การบรูณาการดูแลแบบผสมผสานของทีมสหสาขา ภายใต้การประสานการดูแลของผู้จัดการรายกรณี ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองปัญหาและจัดการภาวะแทรกซ้อนที่ครอบคลุม

The Development of Case Management System for Patients Undergoing an Open Heart Surgery 

Chiangrai Prachanukroh Hospital

This research and development aimed to analyze the situation of an open heart surgery, to develop a case management system for patients undergoing an open heart surgery, and to evaluate the developed the case management system for patients undergoing open heart surgery, Chiangrai Prachanukhro Hospital. The study was divided into 3 phases: phase 1 situation analysis, the data collected by reviewing the medical records and focus group interview; phase 2 development the case management system, the data collected by the literature review, brains storming; phase 3 validation by the experts and testing the care system, the data collected by implementing the system with 36 patients received open heart surgery from June to August 2017. Final outcomes were measured using mortality rate, cost of care, length of stay, and complications compared to those before the system implementation. The situation analysis showed that there were limitations of caring patients who were receiving open heart surgery including   1) lack of case manager in outpatient department, 2) lack of coordinator of care,    3) clarity insufficient of case manager’s roles, and 4) system of care. The developed system of case management composed of 1) a clinical pathway in coronary artery bypass graft, 2) a clinical pathway in cardiac valve surgery, 3) pre-operative guideline for both elective and urgent cases, 4) operative guideline of care, and 5) a follow-up evaluation guideline. After implementation of the care system, the study revealed that there was no patients die during the surgery. The sample in the implementation period had significantly longer length of stay and more frequency of complications than those before the system implemented. There was no significant difference of cost of care in both groups. The case management system for patients undergoing open heart surgery of  Chiangrai Prachanukhro Hospital has an integral part of integration of care provided by the interdisciplinary team with care coordinating of case manager in order to proper complications screening and managements.

Downloads

Published

2018-04-04

How to Cite

ฝึกฝน ก., วะสี ป., ด้วงนคร ม., & อัครวนสกุล บ. (2018). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจโดยใช้การจัดการรายกรณีในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ The Development of Case Management System for Patients Undergoing an Open Heart Surgery Chiangrai Prachanukroh Hospital. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 27–39. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/115437