การพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน

Authors

  • อภิชาติ ใจใหม่
  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

การจัดการรายกรณี, กลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2, Nursing Case Management, Type 2 Pre-diabetes Mellitus, Community

Abstract

การพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีเป็นแนวทางการพยาบาลที่ใช้แก้ปัญหาสุขภาพและการจัดการเชิงระบบเพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนทางด้านสุขภาพ เช่น ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยที่มีอัตราการกลับเข้ารับรักษาซ้ำสูง หรือผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง บทความวิชาการนี้ผู้เขียนพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์องค์ความรู้การจัดการรายกรณีเพื่อใช้ในการพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่2ในชุมชน ซึ่งถือเป็นบทบาทหลักของพยาบาลชุมชนในการป้องกันความเจ็บป่วย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรค ควรได้รับการจัดการแบบรายกรณี ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของบุคคลที่นำมาซึ่งความต้องการด้านสุขภาพ และการจัดการที่แตกต่างกัน พยาบาลผู้จัดการรายกรณีมีบทบาทในการจัดการ การประสานงาน การกระชับทรัพยากรที่มีอยู่ในการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2ภายใต้ความร่วมมือของทีมสหสาขาและชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายหลักคือ การลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในชุมชน

Nursing Case Management for People with Type 2 Pre-diabetes Mellitus in Community

Nursing case management is a nursing intervention to improve health problems and health system menagement outcomes. It was developed to take care of patient with serious health conditions such as patients in intensive care unit, patients with high readmission rate, and patients with high-cost of health care. This article was written based on experiences of nurse case manager in chronic diseases management (Diabetes Mellitus and Hypertension) and literature review to describe an implication of nursing case management concept for people with type 2 pre-diabetes mellitus in community. Nursing case management is suitable for imporving health outcomes among people with difficulty of lifestyle modifications, particularly type 2 pre-diabetes mellitus because of different health care needs. Nurse case manager is a significant person who will be able to manage and coordinate for lifestyle modifications of people with type 2 pre-diabetes mellitus with collaboration of a multidisciplinary team to decrease numbers of new cases of type 2 diabetes mellitus.

References

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน และปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2557). ผลลัพธ์การจัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวานและความ
ดันโลหิตสูง. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์ จำกัด.

จงจิตร อังคทะวานิช. (2555). โครงการ สงฆ์ต้นแบบ โภชนาดี ชีวียั่งยืน และ ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาการดี. จุฬาสัมพันธ์. ปีที่ 25 ฉบับที่ 55.

ปริศนา วะสี, มยุรฉัตร ดวงนคร, บุษบา อัครวนสกุล, วรรณิภา จะเรียมพันธ, ชนาวิทย สิทธิสมบัติ และกฤตพัทธ์ ฝึกฝน. (2561). การพัฒนาระบบการดูแลผูปวยผาตัดหัวใจโดยใชรูปแบบผูจัดการรายกรณีโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 19(1): 27-39.

วิชัย เอกพลากร. บรรณาธิการ. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 (pp. 142). นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2559). การจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัทที คิว พี จํากัด.
ศิริอร สินธุ และพิเชต วงรอต, บ. (2557). การจัดการรายกรณี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์.

Mullahy C. M. &Jensen D. K. (2004).The Case Manager's Handbook.Massachusette: Jones and Bartlett.

Sutherland D. &Hayter, M. (2009).Structured review: evaluating the effectiveness of nurse case managers in improving health outcomes in three major chronic diseases.Journal of Clinical Nursing, 18(21), 2978-2992.

Ferguson J.A. & Weinberger M. (1998). Case management programs in primary care. Journal of General Internal Medicine. 13(2):123-126.

IDF. (2014). IDF Diabetes Atlas (6 ed., pp. 159).

Ishani, A., Greer, N., Taylor, B. C., Kubes, L., Cole, P., Atwood, M., . . . Ercan-Fang, N. (2011). Effect of Nurse Case Management Compared With Usual Care on Controlling Cardiovascular Risk Factors in Patients With Diabetes: A randomized controlled trial. Diabetes Care, 34(8), 1689-1694.

Taylor, C. B., Miller, N. H., Reilly, K. R., Greenwald, G., Cunning, D., Deeter, A., &Abascal, L. (2003). Evaluation of a nurse-care management system to improve outcomes in patients with complicated diabetes. Diabetes Care, 26(4), 1058-1063.

University of Brimingham HSMC. (2006). IMPROVING CARE FOR PEOPLE WITH LONG-TERM CONDITIONS.Retrieved from http://www.improvingchroniccare.org/download/review_
of_international_frameworks_chris_hamm.pdf.

Welch, G., Garb, J., Zagarins, S., Lendel, I., &Gabbay, R. A. (2010). Nurse diabetes case management interventions and blood glucose control: Results of a meta-analysis. Diabetes Res ClinPract, 88(1), 1-6.

Yates, T., Jarvis, J., Troughton, J., & Davies, M. J. (2009).Preventing type 2 diabetes: applying the evidence in nursing practice.Nursing Times, 105(41), 10-4.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

ใจใหม่ อ., & ฝึกฝน ก. (2018). การพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 17–28. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/133951