การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อกำหนดมโนทัศน์และกลยุทธ์ส่งเสริมการทำาวิจัย

Main Article Content

ชณิชา เพชรปฐมชล
พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัย 2) วิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัย และ
3) พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการทำาวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ระหว่างปีการศึกษา 2549-2558 ในหลักสูตรที่เน้นการทำาวิจัย (แผน ก) และมีการเผยแพร่ผลงาน
ผ่านทางระบบฐานข้อมูลงานวิจัยโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) รวม 396 เรื่อง
เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบประเมินความ
เหมาะสมของมโนทัศน์การวิจัย และแนวคำาถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการ
วิเคราะห์เนื้อหา และพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริม การทำาวิจัยด้วยการสนทนากลุ่ม สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ว่า งานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มีผลการ
สำารวจคุณภาพงานวิจัยสอดคล้องกัน คือ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยโดยรวมระดับดี เมื่อพิจารณาตาม
กลุ่มระดับคุณภาพงานวิจัยพบว่า งานวิจัยส่วนมากมีคุณภาพระดับดีมาก รองลงมาคือปานกลาง ค่อน
ข้างตำ่า และดี งานวิจัยที่มีคุณภาพระดับตำ่านั้นมีจำานวนน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่
มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยระดับดีมากมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านการนำาเสนอ
รายงานวิจัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยระดับดีมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิธีดำาเนินการวิจัย ด้านการ
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ด้านบทนำา และด้านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีด้าน
ใดมีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยตำ่ากว่าระดับดี ตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่าง
ของคุณภาพงานวิจัยทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มี 9 ตัวแปร ได้แก่ สาขาวิชา ปีที่จบการศึกษา แบบแผนการวิจัย กลุ่มทฤษฎีหลัก ประเภทสมมติฐาน
การวิจัย วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
และการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ ตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์
ทางบวกกับคุณภาพงานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มี 5 ตัวแปร ได้แก่ จำานวนตัวแปรตาม จำานวนตัวแปรต้น จำานวนตัวแปรแฝง จำานวนสมมติฐานการวิจัย
และจำานวนวิธีวิเคราะห์ข้อมูล ตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพงาน
วิจัยอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งพบเฉพาะในระดับปริญญาโท มี 3 ตัวแปร ได้แก่ จำานวน
ปีที่ใช้ในการศึกษาตามหลักสูตร จำานวนตัวแปรที่ศึกษา และจำานวนเครื่องมือวิจัย
2. ผลการวิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันทุกข้อเกี่ยว
กับความถูกต้องและความเหมาะสมของมโนทัศน์การวิจัย ของนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญา
เอก โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การแปลผลการประเมินคุณภาพงาน
วิจัยที่กำาหนดไว้ ผลจากการวิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัยพบประเด็น ที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วน
ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับการให้ความสำาคัญต่อการเขียนข้อจำากัดและข้อตกลงเบื้องต้น ของการวิจัย และ
ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ เมื่อใช้สถิติพาราเมตริกวิเคราะห์ข้อมูล เช่น
ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการแจกแจกปกติของกลุ่มประชากร เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที
ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวนของประชากร เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การทดสอบความแปรปรวน เป็นต้น
3. ผลการพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการทำาวิจัย ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับกลยุทธ์ระดับแนวปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมการทำาวิจัย รวม 15 กลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ระดับอาจารย์ผู้สอนและ
ห้องเรียน 2) กลยุทธ์ระดับการบริหารจัดการหลักสูตร และ 3) กลยุทธ์ระดับการบริหารจัดการองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน: Meta-analysis. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, สิรินธร สินจินดาวงศ์, ภัทราวดี มากมี และนัทธี เชียงชะนา. (2551, 28-29 สิงหาคม).
รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยที่นำาเสนอในการประชุมวิชาการ “เปิดขอบฟ้าคุณธรรม
จริยธรรม”. งานวิจัยเสนอในที่ประชุมวิชาการ “เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม”.
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำานักงานบริหารและ
พัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน).
พงษ์สุวรรณ ศรีสุวรรณ. (2552). การกำาหนดกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการวิจัยของหลักสูตรการทัพอากาศ
กองทัพอากาศ: วิธีวิจัย แบบผสมของการสังเคราะห์งานวิจัย การวิจัยเชิงสำารวจ และการวิจัย
ประเมินความต้องการจำาเป็น. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย
การศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์เทพ จิระโร. (2554). การประเมินโครงการ (Project evaluation). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์
พับลิเคชั่น.
________. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-L. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 3 อุดรธานี: อักษรศิลป์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2545). ประเภท ขั้นตอนของการประเมินอภิมาน และคุณสมบัติของนักประเมิน
อภิมาน. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552).รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย:
การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
Cooper, H. & Hedges, L. V. (1994). Research Synthesis as a Scientifc Enterprise.
New York: Russell Sage Foundation.
Homby, A. S. (1994). Oxford Advanced Learner’s Dictionary. (4th ed). England:
Oxford University Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.