The Organizational Culture of Broadcasting in Asia

Main Article Content

Drew McDaniel
Chalisa Magpanthong

Abstract

This study examined the industry-wide organizational culture of broadcasting in 14 nations of Asia, analyzing values held by 233 senior radio and television staff members. Participants ranked a set of core values related to ideational organizational culture. Spearman correlation coefficients indicated that a few values were considered important across all nations, but other values varied sharply from country to country. A factor analysis identified three distinct groupings of value orientations: 1) socialist and former socialist nations, 2) Islamic and Roman Catholic nations, and 3) a single democratic monarchial Buddhist nation, this diversity indicating an absence of a common organizational culture in the region’s broadcasting field while suggesting the predominant role of politics and religions in shaping the region’s professional culture. Thus values held industry-wide appeared to interact with local cultures within nations producing sub-regional patterns.


การศึกษาครั้งนี้สำรวจวัฒนธรรมองค์กรการกระจายเสียงจำนวน 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยการวิเคราะห์ค่านิยมที่ผู้ปฏิบัติงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระดับอาวุโสให้ความสำคัญ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 233 คนได้จัดเรียงอันดับชุดค่านิยมหลักที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กรในอุดมคติการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ สเปียร์แมนระบุว่า มีค่านิยมหลักบางประการที่ทุกประเทศจัดลำดับว่าสำคัญ และมีค่านิยมบางประการที่แต่ละประเทศให้ลำดับความสำคัญแตกต่างกันไป การวิเคราะห์องค์ประกอบบ่งชี้ว่า ชุดค่านิยมที่ได้รับการจัดเรียงลำดับเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นสามกลุ่มหลัก ๆ คือ 1) กลุ่มประเทศสังคมนิยมและประเทศที่เคยใช้ระบบสังคมนิยม 2) กลุ่มประเทศนับถืออิสลามและโรมันแคทอลิกเป็นหลัก และ 3) กลุ่มประเทศประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้วไม่มีวัฒนธรรมองค์กรกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์หนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย และยังชี้ให้เห็นว่า การเมืองและศาสนาหลักมีบทบาทต่อการให้ความสำคัญในค่านิยม  ดังนั้นอาจเป็นได้ว่า การที่ผู้ปฏิบัติงานให้ความสำคัญค่านิยมแตกต่างกันนั้น เป็นผลจากวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ อันนำไปสู่การสร้างรูปแบบค่านิยมในระดับอนุภูมิภาค

Article Details

Section
Research Articles