สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Main Article Content

อัญชุลี อุดรกิจ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 และเพื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยตาม ความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยจำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการครู ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และครูผู้ช่วย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ปีการศึกษา 2555 จำนวนทั้งหมด 448 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นระดับชั้น และเทียบตามตารางสัดส่วน ของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 67 ข้อ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe’

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนา สถานศึกษามีการปฏิบัติมากกว่าทุกด้าน ข้อที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานศึกษา รองลงมา คือ มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาและมีส่วนร่วม ในการวางแผนการพัฒนางานในสถานศึกษา

ส่วนปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาวิชาการ มีปัญหามากกว่าทุกด้าน ข้อที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเผยแพร่สื่อการเรียนที่ผลิต ตลอดจน เทคนิคและวิธีการใช้ให้แก่ครูหรือบุคลากรอื่นในโรงเรียน รองลงมา คือ ใช้สื่อการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยจำแนกตามตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา พบว่า

2.1 ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานของครู ผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพ การปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 28

3.1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ให้ความสำคัญกับการใช้สื่อ การพัฒนาสื่อ การใช้ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง

3.2 ด้านการพัฒนาผู้เรียน ครูผู้ช่วยจะต้องพัฒนาการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม พัฒนาผู้เรียน การปลูกฝ๎งคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ของผู้เรียน การพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ การปลูกฝ๎งวินัย ประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียน การสร้าง ค่านิยมที่ดีงามและความภูมิใจในความเป็นคนไทยของผู้เรียน การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.3 ด้านการพัฒนาวิชาการ ครูผู้ช่วยควรมีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้และสร้างเครือข่ายทางวิชาการ

3.4 ด้านการพัฒนาสถานศึกษา ครูผู้ช่วยควรมีส่วนร่วมในกิจกรรม พัฒนาสถานศึกษา เกี่ยวกับ งานบริหารทั่วไป งานด้านสารสนเทศของโรงเรียน งานสนับสนุนวิชาการ งานโครงการหรือกิจกรรม พัฒนาสถานศึกษา งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและค่านิยมร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

3.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ครูผู้ช่วยควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและ ชุมชน มีการศึกษาเกี่ยวกับชุมชน ให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด การเรียนรู้ ให้บริการชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อมูลคำแนะนำแก่ชุมชนเกี่ยวกับการใช้สถานที่ของ สถานศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่สถานศึกษากับชุมชนจัดร่วมกัน อย่างเต็มความสามารถ

 

States and Problems in the Performance of Assistant Teachers in the Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area 28

The research aimed to study the states and problems in the performance of the assistant teachers under the Secondary Educational Service Area 28, to compare the performance of the teachers in question as classified by the ranks and the school size and to propose the guidelines to develop the performance of the teachers.

The samples in the research were the school administrators, the teachers and the assistant teachers of the schools under the Secondary Educational Service Area 28 in the academic year 2012. The subjects totaling 448 were derived by a stratified random sampling. Krejcie and Morgan’s table was used. The research instruments were a five rating-scale questionnaire of 67 items with a confidence equivalent to .95 and the interview. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, variance analysis and Scheffe’s method.

The research findings were as follows:

1. The overall performance of the assistant teachers in the study was at a high level. Considering separate issues, it was found that a school development was at a higher level. The aspect most practiced was participation in the projects pertaining to the school development, followed by participation in the development activities and in the planning.

The problems in the performance of the assistant teachers in the study was at a low level. Considering separate aspects, it was found that the academic affairs development was most problematic. The key issue was the learning media as well as technique and methods on using the media produced. Secondary included a variety of teaching methods to enable the learners to reach a maximum goal in learning and to make use of the local wisdom in their learning.

2. As for the comparison of the opinions of the assistant teachers as perceived by the teachers under the Secondary Educational Service Area 28, the following were found.

2.1 The teachers who held a different rank had different opinions towards the performance of the assistance teachers with a statistical significance of .01.

2.2 The teachers who worked at different sized schools held different opinions towards the performance of the assistant teachers with a statistical significance of .01.

3. The guidelines for the development of the performance for the assistant teachers were as follows.

3.1 On learning management: The assistant teachers had to contribute in organizing a variety of learning processes so that the learners could learn well and achieve the goals as specified in the curriculum. Primary should be given to the use of media and development, use of learning sources, local wisdom and a wide range of evaluation.

3.2 On learners’ development: the assistant teachers had to develop the activities related to promotion and development of the learners, ethical cultivation, life skill development, physical and mental conditions, discipline and good values, pride in being Thais.

3.3 On academic affairs: the assistant teachers should play a part in developing media, innovation, in using learning sources and local wisdom.

3.4 On school development: the assistant teachers should play a part in activities, general administration, information technology of the schools, academic affairs support, buildings and environments.

3.5 On relations with the community: the assistant teachers should be coordinative with the students’ parents and the community, they should have knowledge on the community, be cooperative with the community, involve the locals in organizing learning. Besides, they should provide the academic services to the community.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)