ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

Authors

  • บุษบา ทาธง อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท จังหวัดชัยนาท
  • ศรีพรรณ กันธวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย, เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด, Uncertainty in Illness, Children with Cancer Receiving Chemotherapy

Abstract

บทคัดย่อ

มะเร็งในเด็กเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต เคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ซับซ้อนและมีอาการ ข้างเคียงที่รุนแรง และไม่สามารถทำนายผลการรักษาได้แน่ชัด ทำให้เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้ รับเคมีบำบัดเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งส่งผลให้เด็กป่วยมีความทุกข์ ทรมานทางจิตใจ การศึกษาเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนในความ เจ็บป่วย กรอบสิ่งกระตุ้น การสนับสนุนทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของ เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ กรอบสิ่งกระตุ้น การสนับสนุนทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความ เจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดโดยใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนของมิเชล เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กป่วยโรคมะเร็งอายุ 8-15 ปี ที่ได้รับเคมีบำบัด ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง จำนวน 88 ราย คำนวณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การวิเคราะห์อำนาจการทดสอบเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วย (2) แบบสอบถาม กรอบสิ่งกระตุ้น ของเด็กป่วยโรคมะเร็ง (3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของเด็ก ป่วยโรคมะเร็ง และ (4) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็ง แบบสอบถามเหล่านี้มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.85- 0.97 และมีค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นระหว่าง 0.81- 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและและการ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และกรอบสิ่งกระตุ้นในระดับปานกลาง (ร้อยละ 85.2 และ 63.6 ตามลำดับ) และร้อยละ 56.8 มีการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก และเด็กป่วยโรคมะเร็ง ร้อยละ 50 มีความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยอยู่ในระดับปานกลางและ ร้อยละ 48.9 อยู่ในระดับ มากตามลำดับ

2. กรอบสิ่งกระตุ้นสามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วย โรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดได้ร้อยละ 4.9 (R2 = 0.049, b = 0.220, p < 0.05) กรอบสิ่งกระตุ้นและการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนใน ความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดได้ ร้อยละ 9.3 (R2 = 0.093, p < 0.05)

ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของกรอบสิ่งกระตุ้นและการสนับสนุนทาง สังคมต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่ง สามารถนำไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรค มะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดต่อไป

คำสำคัญ: ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

 

Abstract

Childhood cancer is a life-threatening disease and chemotherapy is a complex treatment with severe side eff ects. In addition, the treatment is unpredictable in its results. This creates uncertainty in illness among children with cancer receiving chemotherapy resulting in psychological distress. The objectives of this predictive study were to describe uncertainty in illness, stimuli frame, social support, and illness knowledge among children with cancer receiving chemotherapy; and to examine predictability of stimuli frame, social support, and illness knowledge on uncertainty in illness among children with cancer receiving chemotherapy. Mishel’s Uncertainty in Illness theory was used as the study framework. The study sample was 88 children with cancer aged between 8-15 years receiving chemotherapy in pediatric units of three tertiary hospitals. Power analysis was used to determine the sample size. The research instruments consisted of (1) children’s uncertainty in illness scale, (2) stimuli frame of children with cancer scale, (3) social support of children with cancer scale, and (4) illness knowledge of children with cancer scale. Content validity index and reliability coeffi cients of these scales were between 0.85-0.97 and 0.81-0.98, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.

The results of study

1. The majority of children with cancer receiving chemotherapy reported having uncertainty in illness and stimuli frame at a moderate level (85.2% and 63.6%, respectively), 56.8 % of them reported having social support at high level. In addition, about a half of them 50% reported having illness knowledge at moderate and 48.9% reported at high levels, respectively.

2. The children’s stimuli frame could predict 4.9% of their uncertainty in illness (R2 = 0.049, β = 0.220, p < 0.05). Their stimuli frame and social support together could predict 9.3% of their uncertainty in illness (R2 = 0.093, p < 0.05). The study results provide an understanding of the infl uences of stimuli frame and social support on uncertainty in illness among children with cancer receiving chemotherapy which can be used for further research.

Key words: Uncertainty in Illness, Children with Cancer Receiving Chemotherapy

Downloads

How to Cite

ทาธง บ., กันธวัง ศ., & ศรีภูษณาพรรณ อ. (2013). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด. Nursing Journal CMU, 39(1), 77–90. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7420