การนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมการบริการ

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์ โปรแกรมวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ต้นทุนฐานกิจกรรม, การเลือกใช้ต้นทุนฐานกิจกรรม, อุตสาหกรรมการบริการ

บทคัดย่อ

        ต้นทุนฐานกิจกรรม เป็นการบัญชีสมัยใหม่ที่เน้นการนำต้นทุนมาใช้ร่วมกับ การบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน และสามารถวัดผล การดำเนินงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม ขั้นตอนในการนำต้นทุนฐานกิจกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การระบุกิจกรรม 2) การระบุตัวผลักดันต้นทุน และ 3) การจัดสรร ต้นทุนเข้ากิจกรรม นอกจากนั้นยังสามารถระบุได้ว่ากิจกรรมใดสร้างมูลค่า และกิจกรรมใดไม่สร้างมูลค่าให้กับผลการดำเนินงาน ในขณะที่วิธีการคิดต้นทุนแบบดั้งเดิม ไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกับวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม ต้นทุนฐานกิจกรรมเริ่มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสินค้าแต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมบริการได้เป็นอย่างดี โดยเน้นการบริหารต้นทุนมากกว่าการคิดมูลค่างานบริการ อุตสาหกรรมบริการมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังมีส่วนทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการต่าง ๆ ทำให้เกิดการแข่งขันกันสร้างสรรค์ชิ้นงานการให้บริการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกค้า จึงทำให้มีความจำเป็นจะต้องคำนวณหาต้นทุนในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ถูกต้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารงาน ด้านต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น การลดต้นทุนที่ยังคงมีคุณภาพของงานให้บริการเท่าเดิม หรือมากขึ้นกว่าเดิม

References

กุลชญา แว่นแก้ว. (2559). ผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการต้นทุนที่เหมาะสมที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตการค้าชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 46-64.

จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2553). วิวัฒนาการของการบัญชีบริหารสู่การเปลี่ยนแปลงในมุมมองสำหรับผู้บริหาร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 90-97.

ตุลยาพร สุรายศ, เนตรดาว ชัยเขต, อิสราภรณ์ ทนุผล, และขวัญนุช เจริญวัฒนวิญญู, (2559). การศึกษาต้นทุนการให้บริการตรวจสอบงบการเงินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(1), 49-62.

ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 86-89.

บงกช อนังคพันธ์. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(3), 33-37.

โรงงานอุตสาหกรรมไทย. (2555). ประเภทอุตสาหกรรม. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2560,
จาก http://thailandindustry.blogspot.com/2012/09/industry.html

ศศิธร อ่อนสนิท. (2555). การวิเคราะห์การลดต้นทุนโลจิสติกส์ โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) กรณีศึกษา: บริษัท จอห์นสัน คอนโทรล แอนด์ ซัมมิท อินทิเรียส์ จำกัด. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9(2), 115-122.

อุมาพร เกยเลื่อน. (2555). การศึกษาต้นแบบการคำนวณต้นทุนการศึกษาโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน กรณีศึกษา โรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจเทคโนโลยี จังหวัดขอนแก่น. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอกชัย คุปตาวาทิน. พัลลภ พรมสาเพ็ชร. และวาสนา ช่อมะลิ. (2559). การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จังหวัดชัยภูมิ.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 89-98.

Horngren, C. T., Datar, S. M., & Rajan, M. V. (2012). Cost accounting: A managerial emphasis. (14th ed). Essex, England: Person Education Limited.

Weygandt, J., Kimmel, P., & Kieso, D. (2010). Managerial accounting: Tools for business decision making. (5th ed). Danvers, IL: John Wiley & Sons.

Whitecotton, S., Libby, R., & Phillips, F. (2014). Managerial accounting. (2nd ed). New York: McGraw-Hill Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018