การให้บริการผู้สูงอายุไทยในสถานบริบาลในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิริประภา แจ้งกรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การให้บริการ, สถานบริบาล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการผู้สูงอายุไทยในสถานบริบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักในครั้งนี้ คือ เจ้าของผู้ประกอบการในสถานบริบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี การสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบข้อมูล
        ผลการวิจัย พบว่า การให้บริการผู้สูงอายุไทยในสถานบริบาลในเขตกรุงเทพมหานคร มี 5 ด้าน ได้แก่ การให้บริการด้านการดูแล การให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การให้บริการการให้บริการด้านการฟื้นฟู การให้บริการด้านจิตใจ และการให้บริการด้านสังคม โดยด้านการดูแล ประกอบไปด้วย 7 ด้าน คือ การดูแลทรัพย์สินโดยการเขียนสัญญาเพื่อป้องกันการสูญหาย การดูแลผู้สูงอายุด้วยกล้องวงจรปิด ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการเข้า-ออก ตรวจวัดอุบัติเหตุต่าง ๆ ในร่างกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยเตือนการรับประทานยา อุปกรณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการเตือนภัยโดยเฉพาะเกี่ยวกับอัคคีภัย ด้านการรักษาพยาบาลประกอบไปด้วย 4 ด้านคือ การรักษาผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน การรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การรักษาดูแลระยะสุดท้าย และการรักษาดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ด้านการฟื้นฟูใน ประกอบไปด้วย 5 ด้าน คือ มีการวางแผนการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม การส่งเสริมสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก การพัฒนาทักษะผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการกระตุ้นสมอง ส่งเสริมเจ้าหน้าที่นักกายภาพบำบัดหรือผู้ดูแลเฉพาะด้าน และการให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ด้านจิตใจ ประกอบไปด้วย 5 ด้าน คือ การวางแผนพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับความต้องการทางจิตใจของผู้สูงอายุ รูปแบบ การบริการดูแลทางด้านจิตใจต้องปรับให้ทันต่อยุคสมัยเสมอ เครื่องมือแปลผลและอ่านสภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องจิตใจ การดูแลสภาพจิตใจด้วยหุ่นยนต์ และการอยู่กับคนใกล้ชิดหรืออยู่กับเพื่อนรุ่นราวคร่าวเดียวกัน ด้านสังคม ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ การมีมาตรฐานในการดูแล ทางสังคมของผู้สูงอายุ การส่งผู้ดูแลทางสังคมไปประจำบ้าน การนำลูกหลานมาช่วยดูแลผู้สูงอายุ

References

คณะกรรมการจัดเวทีสมัชชาผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2551). ศักยภาพผู้สูงอายุพลังสร้างสรรค์สังคมไทย. ใน เวทีสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, และคณิศร เต็งรัง. (2556). ผลกระทบและภาระ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์, และเตือนใจ ภักดีพรหม. (2552, มกราคม-มีนาคม). ระบบสถานบริบาลผู้สูงอายุ. วารสารประชากรศาสตร์, 25(1), 45-62.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2553). ทิศทางและแนวโน้มในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. วารสารสภาการพยาบาล, 25(3), 5-10.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลการขึ้นทะเบียนขออนุญาตดำเนินการกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2560, จาก http://61.19.50.36/dsdwwebold/index.php?option=com_content&view=article&id=112&Itemid =158&lang=th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2550). สู่สังคมไม่ทอดทิ้งกัน บนเส้นทางสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สุงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

Barker, A., & Bullock, R. (2005). Delayed discharge in older people’s mental health beds. Old Age Psychiatrist Newsletter, 9(13).

Campbell, J. C., Ikegami, N., & Gibson, M. J. (2010). Lessons from public long-term care insurance in Germany and Japan. Health Affairs, 29(1), 87-95.

Cowling, W. R. (2011). The global presence of holistic nursing. Journal of Holistic Nursing, 29(2), 89-90.

George, J. B. (2010). Nursing theories. New Jersey: Prentice Hall.

George, J. M. (2002). The synucleins. Genome Biol, 3(1).

Gues, L. W. (2010). Assessment of the older adults. In K. L. Mauk (Ed.), Gerontological nursing: Competencies for care. Boston: Jones and Bartlett.

Harkreader, H., Hogan, M., & Thobaben, M. (2007). Fundamentals of nursing: Caring and clinical judgment (3rd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier.

Hutcheon, L. (2012). A theory of adaptation. New York: Routledge.

Juthberg, C., Eriksson, S., Norberg, A., & Sundin, K. (2010). Perceptions of conscience, stress of conscience and burnout among nursing staff in residential elder care. Journal of Advanced Nursing, 66(8), 1708-1718.

Kirk, T. W., & Mahon, M. M. (2010). National hospice and palliative care organization (NHPCO) position statement and commentary on the use of palliative sedation in imminently dying terminally ill patients. Journal of Pain and Symptom Management, 39(5), 914-923.

Kovacic, J. C., Moreno, P., Nabel, E. G., Hachinski, V., & Fuster, V. (2011). Cellul senescence, vascular disease, and aging part 2 of a 2-part review: Clinical vascular disease in the elderly. Circulation, 123(17), 1900-1910.

Mason, A., & Lee, R. (2004). Reform and support systems for the elderly in developing countries: Capturing the second demographic dividend. In International conference on the demographic window and healthy aging: Socioeconomic challenges and opportunities, Beijing: The IUSSP Committee on Longevity and Health and the Asian MetaCentre.

Orem, D. E. (2001). Nursing concept of practice. St Louis, CA: Mosby Year Book.

Orem, D. E., & Taylor, S. G. (2011). Reflections on nursing practice science the nature, the structure, and the foundation of nursing sciences. Nursing Science Quarterly, 24(1), 35-41.

United Nations. (2008). World population policies 2007. New York: Department of Economic and Social Affairs Population Division.

________. (2011). The age and sex of migrants. New York: Department of Economic and Social Affairs Population Division.

Watson, J. (2005). Caring theory as ethical guide to administrative and clinical practices. Nursing Administration Quarterly, 12(3), 18-55.

________. (2008). Nursing: The philosophy and science of caring. Boulder, CO: University Press of Colorado.

Wittink, M. N., Joo, J. H., Lewis, L. M., & Barg, F. K. (2009). Losing faith and using faith: Older African Americans discuss spirituality, religious activities, and depression. Journal of General Internal Medicine, 24(3), 402-407.

World Health Organization. (2010). Home-based long-term care. In Report of a WHO study group: Home-based long-term care. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018