การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ผจญ อหันตะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และ ๓) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๙๗ คน  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of Variance) และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD) และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ   จำนวน ๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาอธิบายในรูปของความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ครูผู้สอนมีคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๑๔) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยมาจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วมด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักความโปร่งใส

๒. ครูผู้สอนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุราชการและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. แนวทางในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น คือ ๑) ด้านหลักนิติธรรมการบริหารงานต้องดำเนินการตามกฎระเบียบ ข้อบังคับให้เคร่งครัดด้วยความเมตตา ๒) ด้านหลักคุณธรรมต้องยึดหลักของความเมตตาธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ ๓) ด้านหลักความโปร่งใสต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสด้วยชี้แจงเหตุผล ด้วยความตรงไปตรงมาสามารถตรวจสอบ ๔) ด้านหลักการส่วนร่วมควรปรึกษาหารือในการดำเนินการ ทุกคนมีส่วนเสนอแนะ ๕) ด้านหลักความรับผิดชอบต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ตนเองชอบด้วยกฎหมายโดยความบริสุทธิ์ใจ ๖) ด้านหลักความคุ้มค่า บุคลากรต้องคำนึงถึงการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับด้วยความรับผิดชอบและประหยัดให้เกิดความคุ้มค่า

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)