การพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโดยอาศัยกระบวนการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธีระศักดิ์ บึงมุม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ผ่านกระบวนการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตและบันทึก กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน ๑ รูป วิทยากรฝ่ายบรรพชิต ๕ รูป ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๑ คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลวังชัย จำนวน ๒ คน ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวใหญ่วิทยาคมและคณะครู จำนวน ๓ คน ผู้ปกครองเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๐ คน สามเณรที่เข้าอบรมในโครงการ จำนวน ๒๐ รูป และเยาวชนนอกโครงการ จำนวน ๖ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๔๘ คน

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การศึกษาพฤติกรรมของเยาวชนก่อนบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน พบว่า พฤติกรรมของเยาวชนก่อนอบรมไม่ต่างจากเยาวชนทั่วๆไป เป็นวัยที่ต้องการอิสระทั้งทางความคิดและทางกาย รักการสนุก ต้องการยอมรับของกลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมก่อนบรรพชาและอบรมเยาวชน ร้อยละ ๖๖-๖๗ เอาแต่ใจตนเอง ร้อยละ ๕๐ ไม่เชื่อฟังบิดามารดา ร้อยละ ๒๐ นิยมเที่ยวกลางคืน ร้อยละ ๑๐ นอกจากพฤติกรรมข้างต้นแล้วเยาวชนยังห่างเหินพระพุทธศาสนา ไม่สนใจการทำบุญตามประเพณี ขาดการสัมมาคารวะ การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีความรับผิดขอบน้อย

๒. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมเยาวชนที่ผ่านกระบวนการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน พบว่า เยาวชนมีความสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้นรู้จักหน้าที่ของตน มีความกล้าเป็นผู้นำ ผลการเรียนดีขึ้น เป็นที่ยอมรับของครอบครัว ชุมชน สังคม มีสัมมาคารวะ รู้จักหน้าที่ของตนที่มีต่อชุมชน มีน้ำใจแก่เพื่อนบ้านและชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีและทำให้ความร่วมมือในการพัฒนาสาธารณสถาน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๗๕

๓. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเยาวชนจากกระบวนการเรียนรู้ในโครงการบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อนพบว่า การอบรมสั่งสอนเป็นหลักทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ ซึ่งมีพระวิทยากร สามเณรพี่เลี้ยง ในระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน ส่งผลให้เกิด การเรียนรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการมสัมมาคารวะ ร้อยละ ๔๑.๑๘ การรู้จักช่วยหรือตนเอง ร้อยละ ๔๐.๐๐ มีความขยัน อดทน ร้อยละ ๔๒.๘๖ การตรงต่อเวลา ร้อยละ๓๑.๒๕ ความซื่อสัตย์ละอายต่อบาป ร้อยละ ๓๓.๓๓ และมีความรับผิดชอบ ร้อยละ ๔๓.๗๕ เกณฑ์เฉลี่ยแบบอย่างที่ดีเป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเยาวชน ร้อยละ ๓๘.๗๓

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)