การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร (ชัยชาติ)

Abstract

      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ๒) เปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตาม เพศ และขนาดโรงเรียน ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ การดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie and Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง .๖๖- และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .๙๔ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการพรรณนาข้อมูล และใช้สถิติ t-test และ F-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่าง

ผลการวิจัยพบว่า

     ๑) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ ๕๗.๑ เป็นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างมากที่สุดร้อยละ ๕๔.๑ สอนอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง

     ๒) ความคิดเห็นการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า        ทั้งภาพรวม รายด้าน และรายข้ออยู่ในระดับมาก        

     ๓) ผลการเปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเพศ ไม่แตกต่างกัน

     ๔) ผลการเปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และเมื่อเปรียบเทียบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ พบว่า ระหว่าง โรงเรียนขนาดใหญ่ กับ โรงเรียนขนาดกลาง ระหว่าง โรงเรียนขนาดใหญ่ กับ โรงเรียนขนาดเล็ก และระหว่าง โรงเรียนขนาดกลาง กับ โรงเรียนขนาดเล็ก ทุกคู่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)