รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระนนทนากร เชื้อคำฮด

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น         ๒) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๒๖ รูป/คน ครูที่ปรึกษา จำนวน ๒๑๗ รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๒๔๓ รูป/คน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๓ รูป/คน ครูที่ปรึกษา ๓ รูป/คน รวม ๑๘ รูป/คน ในโรงเรียนที่มีรูปแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้แก่ ๑) โรงเรียนวัดหนองแวงวิทยา ๒)โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา ๓) โรงเรียนประภัสสรวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง ๐.๘๕-๑.๐๐ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

           ผลการวิจัยพบว่า

        ๑. สภาพการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่นด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อธิสีลสิกขา คือ ศีล เน้นกายกรรม และวจีกรรม รองลงมาคือ อธิปัญญาสิกขา คือ ปัญญาการเรียนรู้ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาด้วยสุ จิ ปุ ลิ และอธิจิตตสิกขาคือ สมาธิ เน้นมโนกรรม ตามลำดับ

       ๒. รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่นด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ปรากฏดังนี้

๒.๑ อธิจิตตสิกขา ได้แก่สมาธิ เน้นสมาธิ มโนกรรม ๑) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา ๒) ด้านการส่งต่อ ๓) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการอบรมพัฒนาจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ (จิตมีสมรรถภาพ/สุขภาพ/คุณภาพ)

           ๒.๒ อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ ปัญญา การเรียนรู้ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาด้วยสุ จิ ปุ ลิ ๑) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา ๒) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ๓) ด้านการส่งต่อโดยการฝึกปฏิบัติให้ใช้ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญแสวงหาความจริงอย่างมีเหตุผล (การเรียนรู้ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาด้วยสุ จิ ปุ ลิ)

           ๒.๓ อธิสีลสิกขา ได้แก่ ศีล เน้นกายกรรม และวจีกรรม ๑) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ๒) ด้านการส่งเสริมนักเรียน โดยการอบรมให้ปฏิบัติถูกต้องดีงามอยู่ในหลักอินทรียสังวร (กาย วาจา) 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)