ยูโทเปีย

Main Article Content

พระวันดี ปะวะเส
พระครูสุตธรรมาภรณ์ .
ผศ.ดร.จรัส ลีกา

Abstract

บทนำ

เหตุผลของการที่ผู้เขียนได้นำ หนังสือยูโทเปีย (Utopia) มาวิจารณ์นี้ เนื่องด้วย หนังสือเล่มนี้มีแนวคิดทางปรัชญาที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการไปทั่วโลก โดยแนวคิดทางปรัชญาที่น่าสนใจ ในเรื่องของสังคมอุดมคติ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม และเป็นแนวคิดที่เกิดจากสภาวะทางสังคมที่เป็นจริงในช่วงเวลาขณะนั้น ซึ่งโทมัส มอร์ (Thomas More) ที่นำเสนอรูปแบบแนวคิดสังคมอุดมคติ เป็นแบบแผนชีวิตในสังคมอันสวยงามที่ไร้ความขัดแย้ง คนในสังคมมีความคิดไปไหนทิศทางเดียวกันอีกทั้งยังใช้ชีวิตอย่างสงบสุข โทมัส มอร์ นักปรัชญามานุษยนิยมชาวอังกฤษเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๕๑๖ ในยุคสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ ๘ แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ (สมัยเดียวกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น) มอร์ เป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัดจนได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๓๕ และเป็นนักการเมืองมือสะอาด แต่มอร์ต้องเสียชีวิตจากการถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๕๓๕ สืบเนื่องจากความเห็นขัดแย้งทางการเมืองต่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘

โทมัส มอร์ เขียนขึ้นเป็นภาษาละตินและต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. ๑๕๕๑ ฉบับที่ผู้เขียนนำมาวิจารณ์นี้เป็นฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดยสมบัติ จันทรวงศ์ เป็นฉบับที่มีเนื้อหาการแปลอย่างลึกซึ้งและมีเนื้อหาที่ชัดเจน โทมัส มอร์ ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องยูโทเปีย ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นตัวแทนจากรัฐไปเจรจาการค้าที่แฟลนเดอร์ หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลสแห่งเนเธอร์แลนด์ขึ้นภาษีนำเข้าขนสัตว์ในอัตราที่สูงลิ่ว เขาเห็นความลำบากยากแค้นของประชาชน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างขุนนางกับชาวนา ดังข้อความว่า “ตราบใดที่ทรัพย์สินส่วนตัวยังมีอยู่ และตราบเท่าที่เงินเป็นมาตรฐานของทุกสิ่งทุกอย่างอยู่แล้ว ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า จะมีรัฐใดที่ปกครองอย่างยุติธรรม หรือย่างมีความสุขได้” และการที่มอร์ได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากหนังสือ Republic ของเพลโตที่ว่าด้วยการปกครองที่ดี และเมื่อย้อนนึกถึงความทุกข์ยากของอังกฤษในเวลานั้น มอร์จึงเขียนถึงสังคมในอุดมคติที่มีชื่อว่า “ยูโทเปีย (Utopia)” ขึ้น โดยตั้งใจเขียนเป็นวรรณกรรมเสียดสีล้อเลียนความโง่เขลาและความเลวร้ายของสังคมในสมัยนั้น สังเกตจากการตั้งชื่อต่างๆ อาทิ ยูโทเปีย มาจากภาษากรีก หมายถึงเมืองที่ดีหรือเมืองที่ไม่มี ณ แห่งหนใด

Article Details

Section
ปกิณกะ (Miscellany)