แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ดร.อำนวย สังข์ช่วย
ดร.ภูวนิดา คุนผลิน

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนจำแนกตามเพศ และอายุและศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชากรในเขตเลือกตั้งที่ ๑ จำแนกออกเป็นเพศ และอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๖๘ คนกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๘๑๓ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบค่า t (t-test) และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test) แบบ One way ANOVA และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือแบบการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แนวทางการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้แทนครัวเรือน และเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐ จำนวน ๒๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นพบว่าโดยรวมและรายด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงลำดับจากระดับสูงสุด ๓ ด้าน คือ ด้านการมีร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการลงทุน และต่ำสุด ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลตามลำดับ

๒. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ และ จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน

๓. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่นมีประชาชนเสนอแนะแนวทางพัฒนา ดังนี้ ๑) ด้านการมีร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์ โครงการคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ให้ประชาชนในครัวเรือนและชุมชน หมู่บ้าน ได้รับทราบข่าวสาร อย่างทั่วถึงควรให้เทศบาลจัดประชุม ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ ประชาชนในครัวเรือนและในชุมชน ให้มีความรู้ มีความตระหนัก มีจิตสำนึก มีส่วนร่วม ในการคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ๒) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรมควรให้เทศบาล จัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม คัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการคัดแยกขยะ ควรให้เทศบาลจัดตั้งงบประมาณจัดซื้อรถขนขยะ การบริหารจัดการโครงการจัดเก็บขยะตามครัวเรือนและชุมชน ให้เพียงพอกับการจัดเก็บขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวัน ๓) ด้านการมีส่วนร่วมในการลงทุนควรมีการประชาสัมพันธ์ โครงการบริหารจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชน ให้ประชาชนในเขตเทศบาล รับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน ในลักษณะของการเสียสละแรงงาน บริจาคเงิน วัสดุสิ่งของบำรุงรักษาสาธารณะประโยชน์ ร่วมประชุม ร่วมออกเงิน ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมเป็นผู้นำ ร่วมชักชวนร่วมบริโภค ร่วมเป็นผู้คิดริเริ่ม ร่วมเป็นสมาชิก อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ควรส่งเสริมให้ประชาชน ตั้งร้านค้าสวัสดิ์การ หรือร้านค้ากองทุนสวัสดิ์การคัดแยกขยะครัวเรือนและขยะชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสาวะถี โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสมาชิก ถือหุ้น ซื้อหุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนในครัวเรือนในชุมชนตั้งร้านค้า รับซื้อขยะจากครัวเรือนในชุมชน หรือรับซื้อขยะจากครัวเรือนในชุมชน สมาชิกมีแต้มสระสม มีเงินปันผลปลายปีแบ่งกำไร ๔.) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นกรรมการติดตาม ประเมินผล โครงการบริหารจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชน ให้ประชาชนในเขตเทศบาล ได้รับทราบ รับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการฝ่ายติดตามประเมินผล อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง และควรแต่งตั้งให้ประชาชน เข้ามาเป็นกรรมการติดตามประเมินผลโครงการบริหารจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชน ของเทศบาลทุกหมู่บ้าน ในชุมชนให้ทั่วถึง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเทศบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์

Abstract

This research aims to study participation and to compare the participation of the people on separating the gabage classified by sex, age and education, including Study the promote the development of guidelines for the participation of the citizens to separate garbage and household waste in the municipality Sawathi, muang KhonKaen, KhonKaen province. The researchers mixed (Mixed Method Research) quantitative (Quantitative Research). The sample size of the population in the first constituency were divided into male and aged 18 years and over 368 were determined statistically significant at the .05 level. The tools used in this study was a questionnaire. A rating scale with equal confidence .813. The statistics used in data analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation test t (t-test) and test, ANOVA (F-test) and One way ANOVA and qualitative (Qualitative Research) literature review documents. Related research Semi-structured interviews depth target information providers, community leaders, representatives of households. Officials and state employees 28 people analyze data and present the findings this descriptive analysis study.

                The Research finding were as follows:

                1. The participation of the citizens to separate garbage and household waste in the municipality Sawathi, muang KhonKaen, KhonKaen province found that, overall, the average income and the average level. Considering all the aspects, are moderate. Sort by highest level in three aspects: the search problem and why it happens. Followed by the participation in investment and the lowest participation in the monitoring and evaluation respectively.

                2. Compare the involvement of the citizens to separate garbage and household waste in the municipality Sawathi, muang KhonKaen, KhonKaen province, by gender and by age, overall scores were not different.

                3. The development is part of the household waste and municipal solid waste in the municipality Sawathi, muang KhonKaen, KhonKaen province People have developed the following recommendations. 1) Participation in finding problems and causes. It was found that the municipality should hold a meeting. Training to educate People in the household and in the community have the knowledge, awareness, consciousness, participation in the separation of household and community waste. Continuous 2) Participation in planning activities. It should be public education and public relations. How to sort waste involve the public in the separation of waste, wetting, drying waste, toxic waste, and waste recycling. And make a correct guide. Distributed to individual households. Municipalities should establish a budget. To manage the project of separating household and community waste from people in Saawai municipality to proactively solve the problems of household waste and community waste. With increasing volume every day. As well as to address environmental issues. Municipalities should also develop their own waste collection and recycling programs. By getting people involved in planning. 3) In terms of investment participation, the municipality should set up a good shop. Waste collection centers, households and community waste in the municipality of Sawawati. By the participation of the people as members to buy shares. And encourage people in the community to set up shops. Buy household waste in the community. Or buy household waste in the community. Members with vowels End of year dividends. 4) Participation in monitoring and evaluation. Found that should be appointed to the public. Become a member of the monitoring and evaluation of waste management in the household and community. Of all municipalities in the community thoroughly to assist the directors of the municipality.And should be publicized let people take part as followers. Evaluate the waste management project in the household and community thoroughly and continuously.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)