Editor

Main Article Content

Dhammathas Academic Journal

Abstract

วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ฉบับนี้ เป็นฉบับประจำปีที่ 17 ฉบับที่ 3 เนื้อหาของบทความยังคงเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษา และรัฐศาสตร์ทั้งในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ และวิจารณ์หนังสือ ประกอบด้วย บทความวิจัย 14 บทความ คือ 1) การวิเคราะห์รูปแบบการปกครองตามแนวพระพุทธศาสนา 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 3) แนวทางการบัญญัติข้อกฎหมาย เพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนา 4) การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธกับการเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ 5) การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 6) ศึกษาการประยุกต์ใช้กิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมเพื่อบำบัดผู้ติดสุราในจังหวัดขอนแก่น 7) รูปแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตตรวจราชการที่ 12 8) รูปแบบการสร้างความมั่นคงในชีวิตของคนไร้สัญชาติในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ริมแม่น้ำเหือง จังหวัดเลย 9) ความเชื่อและคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในวรรณกรรมปาจิต อรพิม ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวนครชัยบุรินทร์ 10) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 11) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 12) ปัจจัยสำคัญเป็นองค์กรแห่งความสุข กรณีศึกษา ธุรกิจโรงแรมระดับ 4-5 ดาวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 13) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 และ 14) การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อความโปร่งใสในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น


บทความวิชาการ 9 บทความ คือ 1) ภาษาบาลีกับการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) แนวคิดเรื่องน้ำในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาความเสื่อมทรามทางจิตใจในศตวรรษที่ 21 4) ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 5) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนตามหลักพุทธธรรมในจังหวัดพิจิตร 6) กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในสังคมปัจจุบัน 7) การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานสู่ธุรกิจชุมชนในยุคไทยแลนด์ 4.0
8) การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0 และ 9) องคาพยพการทำงานขององค์กรทางสังคมในการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน


กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน และขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านได้ให้ความสนใจติดตามวารสารมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งไดใหคําติชม และคําแนะนํา เพื่อการปรับปรุงการดําเนินการจัดทําวารสาร
มาโดยตลอด

Article Details

Section
บรรณาธิการแถลง