แนวทางการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จริยา ปันทวังกูร

Abstract

การศึกษาเรื่อง “แนวทางการใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ๒) ศึกษา การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และ ๓) เปรียบเทียบ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์กับกลุ่มสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน ๓๘๓ คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova Analysis of Variance)  

ผลการวิจัยพบว่า

๑. นักศึกษาส่วนใหญ่มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากกว่า ๕ ปีขึ้น ใช้ ๒-๔ ชั่วโมงต่อวัน นิยมใช้ในช่วงเวลา ๒๐.๐๑-๒๔.๐๐ น. และใช้ ๒-๔ ครั้งต่อวัน เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้ มีหลายประเภทร่วมกันคือเฟซบุ๊ค (Facebook) ยูทูป (Youtube) และไลน์ (Line)

๒. นักศึกษามีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับมากที่สุด ในการรับรู้ความง่าย และการรับรู้การใช้ประโยชน์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งรับรู้ว่ามีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นทาได้สะดวก กว้างขวางและรวดเร็ว ได้รับข่าวสารมากขึ้นหรือได้พบปะกับบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น รับ-ส่งข่าวสารต่างๆ ได้จำนวนมากและหลากหลายประเภทได้ตามที่ต้องการ ใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนและคลายความตึงเครียด มากที่สุด

๓. นักศึกษาที่เรียนทางด้านสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาสังคมศาสตร์     มีความเห็นไม่แตกต่างกันในด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การรับรู้การใช้ประโยชน์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ การใช้ประโยชน์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อิทธิพลทางสังคมที่มีต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และประเภทของข่าวสารที่ใช้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยกเว้นด้านทัศนคติต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ ๒ กลุ่มมีความเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)