แนวทางการพัฒนาการทอผ้าไหมของกลุ่มผู้ทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

จิตรลดา แก้วมงคล

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการทอผ้าไหม ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทอผ้าไหม ๓) เพื่อเปรียบเทียบสภาพทั่วไปในการทอผ้าไหมที่ส่งผลต่อระดับปัญหาในการทอผ้าไหม และ ๔) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการทอผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๓๓๑ คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปของกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงประกอบอาชีพทอผ้าไหม มีประสบการณ์ในการทอผ้าไหม ลักษณะผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ทอเป็นผ้าไหมมัดหมี่ผ้าไหมไหมแพรวา ผ้าไหมพิมพ์ลาย ผ้าฝ้าย ผ้าโสร่ง และผ้าไหมยกดอกตามลำดับปัญหาในการทอผ้าไหม ส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางด้านวัตถุดิบ ด้านการลงทุน ด้านการจ้างแรงงาน และด้านกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ผลการเปรียบเทียบสภาพทั่วไปในการทอผ้าไหมที่มีต่อระดับปัญหาการทอผ้าไหม เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในกลุ่มอายุ ด้านวัตถุดิบ สรุปได้ว่าอายุต่ำกว่า ๒๐ปี มีปัญหาการทอผ้าไหม แตกต่างกันกับอายุ ๔๑-๕๐ ปีด้านการลงทุน แตกต่างกันในกลุ่มอายุ โดยอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี มีสภาพปัญหาในการทอแตกต่างกับอายุมากกว่า ๕๐ ปี กลุ่มสถานภาพ ด้านการลงทุน พบว่าสถานภาพโสดมีปัญหาในการทอผ้าไหมแตกต่างกับสถานภาพสมรส สถานภาพหม้าย สถานภาพหย่า และสถานภาพแยกกันอยู่ กลุ่มประสบการณ์ในการทอผ้าไหม มีปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ด้านวัตถุดิบ พบว่าประสบการณ์ในการทอผ้าไหม ต่ำกว่า๒๐ปีมีปัญหาในการทอผ้าไหมแตกต่างกับประสบการณ์ ๔๑-๕๐ ปี ด้านการลงทุน ประสบการณ์ในการทอผ้าไหม ต่ำกว่า ๒๐ ปี มีปัญหาในการทอผ้าไหมแตกต่างกับประสบการณ์ในการทอผ้าไหมมากกว่า ๕๐ ปีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕

         ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขสภาพปัญหาทางการทอผ้าไหม สภาพปัญหาด้านวัตถุดิบ ต้องเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพก่อนนำมาทอผ้าไหม ด้านการลงทุนต้องมีหน่วยงานของรัฐบาลช่วยเหลือด้านเรื่องเงินทุนงบประมาณที่เข้ามาช่วยเหลือในการจัดการกลุ่มผู้ทอ ด้านการจ้างแรงงานควรฝึกอบรมให้ความรู้ให้ทั่วถึงไมว่าจะเป็นกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน ด้านกลุ่มผู้ทอผ้าไหม ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทอผ้าไหมที่มีลวดลายแบบต่างๆ ในกลุ่มผู้ทอผ้าไหม เพื่อสืบสานภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่คู่กับคนไทยตลอดไป

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)