การพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของชุมชนเสี่ยงภัยแล้งซ้ำซาก:ศึกษาชุมชนหมู่บ้านหนองบัวเหลือง ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ศุภวิชญ์ โรมแพน
สมบัติ เสริฐผล
ชูเกียรติ ผลาผล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะการการอยู่ดีมีสุขของชุมชนเสี่ยงภัยแล้งซ้ำซาก ๒) เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวของชุมเสี่ยงภัยแล้งซ้ำซาก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวมรวมข้อมูล โดยการสำรวจบริบทชุมชน และสัมภาษณ์และสังเกตผู้รู้ที่สำคัญ (Key Informants) ในชุมชนจำนวน ๕๐ คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ และเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความตามสภาพเป็นจริงและนำเสนอข้อมูลตามโดยการพรรณนา ตาราง รูปภาพและแผนภูมิประกอบเพื่อให้ได้เข้าใจอย่างชัดเจน

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนอยู่ดีมีสุขได้ด้วยกระบวนการปรับตัวทั้งต่อปัจจัยภายใน คือ ภัยแล้ง และต่อปัจจัยภายนอก คือ การไหลเข้ามาของตลาดแรงงาน ตลาดทุนและเทคโนโลยีใหม่ ชุมชนได้ปรับเปลี่ยนพืชการเพาะปลูกจากข้าวเป็นอ้อย มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการเพาะปลูก คือ รถไถนา ในขณะเดียวกันชุมชนได้ทำงานนอกภาคเกษตรมากขึ้นในลักษณะการแบ่งงานกันทำในระดับครัวเรือน คือ สมาชิกบางส่วนออกไปทำงานนอกชุมชน และบางส่วนยังคงอยู่ในชุมชน บางครัวเรือนที่ทำงานอยู่ในชุมชนยังได้เปิดร้านขายของด้วย ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มหลายทาง ซึ่งกระบวนการปรับตัวดังกล่าวทำให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขตลอดมา

Abstract


This research aims 1) to study the well-being of the community drought risk repetitive 2) to study the adaptation of community drought risk redundant. Qualitative research methods data, collected by surveying community context, interview and observe the important knowledge (key informants) in the community 50 people, including village headman, assistant. Village council, folk wise men, unofficial community leaders and farmers.

The data was analyzed and interpreted according to: The actual information is presented by descriptive tables and charts accompanying photos to get a clear
understanding. The study indicated that community well-being is the process by
adapting to both internal factors is drought and external factors is the influx of labor markets and new technologies. The community has adapted to the cultivation of rice, sugarcane. Take the technology to be used in the cultivation process is a tractor. At the same time community work outside the agricultural sector more in the nature of the division of labor in the household is doing some members working outside the community, and some are still in the community. Some households who work in the community has also opened shop. Many communities have increased. Such adaptation makes community living a happy life.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)