อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอน

ผู้แต่ง

  • จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี

คำสำคัญ:

information communication and technology, factor, lisrel, sem

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอนและอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขตที่ 1,2 และ 3 จำนวน 515 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และแบบสอบถามครูผู้สอนในด้านการจัดการความรู้ การพัฒนาวิชาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window  เพื่อวิเคราะห์สถิติพรรณา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โปรแกรม LISREL เพื่อวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างเชิงเส้นตรง (Structural Equation Model : SEM) หาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างตัวแปร

ผลการวิจัยพบว่า ครูรู้จักเทคโนโลยีสารสนเทศ รับรู้ถึงความสะดวกสบายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ มีทักษะในการจัดการข้อมูล และสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด   ทัศนคติของครู มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาวิชาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยอมรับเทคโนโลยีสารสนแทศ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอน การพัฒนาวิชาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศของครู มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอนของครู ทักษะของครู    มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน และการจัดการความรู้ของครู มีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อค้นพบ ปัจจัยเชิงเหตุผลของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนโดยพิจารณาจากอิทธิพลของตัวแปรต่างๆที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอนของครูผู้สอน

ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพื่อการเรียนการสอนมากขึ้น และสนับสนุนให้ครูได้รับการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เป็นประจำ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ควรส่งเสริมให้ครูมีการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบการบริหารจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป ควรศึกษาเชิงลึกอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ABSTRACTS

This research aimed at investigating the level of the classroom use of ICT among teachers as well as the influence of factors affecting their ICT use. 515 teachers working in secondary schools in Chonburi Educational Service Areas 1, 2 and 3 were subjects of this piece of research. The research instruments were interview and questionnaires. The in-depth interview was carried out with school administrators and teachers. Questionnaires were also used to tap teachers’ opinions and performance on the aspects of knowledge management, professional development in ICT, attitudes towards ICT, acceptance of ICT, ICT skills and, lastly, ICT classroom use.  Data were analyzed using two ready-made programs: SPSS for Windows and LISREL.  The first one, SPSS for Windows, was used to analyze the data for percentage, average (Mean) and standard deviation (S.D.).  LISREL was to analyze the Structural Equation Model (SEM) for correlation and influences among factors.

The highest degree was found that teachers were aware of ICT, perceived its efficiency, had opportunities to be trained in ICT, exchanged knowledge, had information management skill and supported learners to use ICT in their learning.  Teachers’ opinion on ICT influenced directly to their professional development and acceptance of ICT.  However, it influenced indirectly to their classroom use of ICT.  Teacher professional development influenced directly to their skill and classroom utilization of ICT.  Teacher skill indirectly influenced their classroom use of ICT.  Finally, Teacher knowledge management directly influenced their classroom use of ICT.  This research found rational factors impacting the classroom use of ICT among teachers considering from the influences of various factors.

At the policy level, educational service area offices and schools should mandate the ICT classroom use as one of the solid policies.  Moreover, they ought to support teacher professional development through workshops and seminar, field trips and gain more regular access to ICT.  As for academic aspect, the knowledge management should also be promoted in terms of knowledge sharing and continuous self development.  For further research, the in-depth investigation into the influence of ICT to student learning achievement should be carried out.

Downloads

ฉบับ

บท

Original Articles