กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง
เรขา อรัญวงศ์
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็นของอาจารย์ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ และ 4) ประเมินกลยุทธ์ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็นของอาจารย์ โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็นจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการงานวิจัยจำนวน 5 คน วิเคราะห์เนื้อหา นำไปกำหนดองค์ประกอบและตัวแปรสังเกตได้ของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็น แล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 288 คน สกัดองค์ประกอบและตัวแปรด้วยวิธีแวริแมกซ์ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์และวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะที่มีอยู่จริงกับที่คาดหวัง โดยการสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์จำนวน 265 คน 3) พัฒนากลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 2 และผลการประเมินคุณภาพการศึกษารวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมจากผู้บริหารจัดการงานวิจัย จำนวน 15 คน นำมาจัดทำร่างการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม ให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างพิจารณาในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำร่างกลยุทธ์ ตรวจสอบความถูกต้องของกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ4) ประเมินกลยุทธ์ที่ปรับปรุงแล้ว โดยประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยผู้บริหารงานวิจัยระดับคณะและสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 25 คน

ผลการศึกษาพบว่า

1. องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการวิจัยที่จำเป็นของอาจารย์มี 10 องค์ประกอบ 75 ตัวแปรสังเกตได้

2. ผลการวิเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัยที่เป็นจริงของอาจารย์ โดยภาพรวมพบว่าระดับสมรรถนะด้านการวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง–มาก และพบว่าสมรรถนะด้านความสามารถเสนอผลงานวิจัยเพื่อจดสิทธิบัตรอนุสิทธิบัตรได้ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย รองลงมาคือ ด้านความสามารถเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ผลการวิเคราะห์ค่าช่องว่างของสมรรถนะด้านการวิจัยพบว่าสมรรถนะที่ต้องให้ความสำคัญและนำไปทำกลยุทธ์ในการพัฒนา 3 อันดับแรกได้แก่1) สามารถเสนอผลงานวิจัยเพื่อจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรได้2) สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและรู้จุดประสงค์ของแหล่งทุน 3) สามารถเสนอผลงาน วิจัยในที่ประชุมทั้งระดับชาติ และนานาชาติ

3. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มี 6กลยุทธ์ได้แก่ 1) เพิ่มขีดสมรรถนะนักวิจัยทุกระดับ 2) ปรับรูปแบบการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัย ระหว่างองค์กรภายในมหาวิทยาลัย และองค์กรภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) ส่งเสริมความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัย 4) พัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการวิจัย 5) ประสานความร่วมมือเครือข่ายสนับสนุนการวิจัยแบบพหุภาคีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 6) ส่งเสริมการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย

4. ผลการประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์พบว่าโดยภาพรวมทั้ง 6 กลยุทธ์ มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมในระดับมาก ความเป็นไปได้ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

The purposes of this research were,1) to study the factors of necessary researchcompetencies of the Rajabhat University teachers in the Lower Northern region, 2) to study the levelof teachers’ research competencies, 3) to develop the strategies for teachers’ research competencydevelopment, and 4) to assess the developmental strategy. The procedure was divided into 4 steps asfollows: 1) studying the factors of necessary research competencies by learning from documents,concepts, theories, and related research and interviewing five experts in research management, contentanalysis, specifying the factors and observable variables. After that, questioning the opinions of 288research administrators and selecting the factors and variables by Varimax Rotation, 2) studying thelevel of teachers’ research competencies and analyzing the gap of the existent and expectedcompetencies by interviewing 265 teachers’ opinions, 3) developing the strategies by collecting datafrom the study in the second step with the result of educational quality assessment and the conceptof environmental factors from 15 research administrators, and then setting a plan for environmentalfactors analysis and inviting the research scholars from the lower Northern Rajabhat Universities tojoin workshop in order to draft the strategy and assess an accuracy of the strategies byconnoisseurship, and 4) assessing the improved strategies about the consistency, suitability, feasibilityand utility of the strategies by 25 research administrators of Faculties and Research and DevelopmentInstitutes of the lower Northern Rajabhat Universities.

The findings were as follows:

1. There were 10 factors of the teachers’ necessary research competencies and 75 observablevariables.

2. The results of teacher’s necessary research competency analysis as a whole were at anaverage to a high level. The research competencies for registering a patent and petty patent were at alow level, followed by the ability of research presentation in the national and internationalconferences.The result of the research’s gap analysis was found that there were three competenciesthat should be paid attention and developed as the strategies: 1) being able to present the research forregistering a patent and petty patent, 2) being able to reach the capital and know the capital’s goal,and 3) being able to present the research at both national and international conferences.

3. The strategies for the development of Rajabhat University teachers’ research competenciesin The Lower Northern region consisted of 6 ones, namely 1) increasing all levels of researchers’competencies, 2) adjusting the pattern of building a network to broaden cooperation of researchcompetency development between the organizations in the university and external organizations both innational and international, 3) promoting the ability in research management, 4) developing research system and machinery, 5) coordinating the research supporting multilateral network for localdevelopment, and 6) promoting the publication and transfer knowledge from the research.

4. The results of strategy’s consistency, suitability, feasibility and utility assessment werefound that the strategy’s consistency was at a highest level, whereas the suitability and feasibilitywere at a high level and utility was at the highest level.

Article Details

How to Cite
แจ่มแจ้ง ข., อรัญวงศ์ เ., & ผลประเสริฐ ป. (2013). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 15(2), 86–96. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9230
Section
Research Articles