การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

เบญจา วงษา
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
สร้อยสน สกลรักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาทางการศึกษาสำหรับเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้แนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็นนิสเสริมด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประมินคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์ของกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ประกอบด้วยความสามารถในการคิดอุปนัย การนิรนัย การหาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล การพยากรณ์ การอ้างเหตุผลที่ผิดหลักตรรกะ การให้คำจำกัดความ และการระบุข้อสันนิษฐาน โดยมีขั้นตอนของกระบวนการ 2 ระยะ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจผู้เรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2) ขั้นฝึกคิด ประกอบ ด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นการฝึกคิดและขั้นการนำไปใช้ ขั้นการฝึกคิด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเสนอปัญหาจากสถานการณ์ 2) ขั้นพิจารณาปัญหาและเหตุผล 3) ขั้นสรุปผลการคิด 4) ขั้นสร้างความเข้าใจและเลือกทางเลือก และ 5) ขั้นตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ประยุกต์กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้

ในเบื้องต้นมีการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการศึกษาและความเป็นครู จำนวน 30 คน ผู้วิจัยประเมินผลจากการวัดผลก่อน-หลังเรียน ด้วยแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แบบวัด Cornell Critical Thinking Test Level Z ของเอ็นนิสเป็นแนวทางในการสร้าง ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

Abstract

This paper was aimed to develop an education innovation for enhancing critical thinking ability of teacher student at the undergraduate level of Rajabhat University. The developed innovation based in Ennis’s critical thinking approach and peer coaching technique. The objectives of this research were to (1) develop learning process by using Ennis’s critical thinking approach and peer coaching technique so as to accelerate critical thinking ability (2) evaluate the quality of learning process developed.

There were 2 key stages of learning process developed in this research i.e. (1) preparation stage and (2) thinking stage. The second stage, thinking stage, was composed of 5 steps, which were 1) problem structuring of situation, 2) logics and problem scrutiny, 3) thinking summary, 4) understanding manipulation and option selection, and 5) decision making level. The learning process was on process of implementing in classrooms of process and experimental group. The population was undergraduate students of Rajabhat University involved with educational major of teacher professional career. The data were collected by using developed pre-post testing thinking competencies measurement application form of the critical thinking in which was accumulated with “Cornell Critical Thinking Test Level Z” from Ennis and Millman approach and then the data were analyzed by using t-test. To sum, the experimental result had ever been found that learner had scoring competencies in direction with critical thinking at pre studying more than post studying throughout statistical significant of .o5.

Key Words : Ennis Approach, Critical Thinking Ability, Peer Coaching Technique

Article Details

How to Cite
วงษา เ., เดชะคุปต์ พ., & สกลรักษ์ ส. (2013). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Education and Innovation, 13(3), 43–56. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9381
Section
Research Articles