การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

อารีรักษ์ มีแจ้ง (Areerug Mejang)

Abstract

งานวิจัยและพัฒนาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการเรียนการสอน และ ความต้องการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในการได้รับการพัฒนา เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำนวน 169 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่สนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับการสอนแบบบูรณาการทักษะ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนพบว่า วิธีการสอนที่ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ใช้ 3 อันดับแรก คือ การสอนตามแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร การสอนภาษาแบบอรรถฐาน และการสอนตามแนวคิดการฝึกกลวิธี ส่วนปัญหาในการจัดการเรียนการสอน 3 อันดับแรกที่พบ คือ การมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนที่ยังไม่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยังไม่สามารถสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียน และการประเมินผลที่ยังขาดความหลากหลาย ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะเป็นสิ่งที่ครูควรปฏิบัติ ครูควรได้ติดตามแนวคิดและวิธีการสอนใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ และครูควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบบูรณาการทักษะและการปฏิบัติที่ถูกต้อง
2. ชุดฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ สำหรับครูผู้สอนภาษา อังกฤษระดับมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบต่อไปนี้คือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระการฝึกอบรมประกอบด้วยเนื้อหา 5 โมดูล กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรมทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้ชุดฝึกอบรมผ่านเว็บที่พัฒนาขึ้นพบว่า ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบบูรณาการทักษะหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมผ่านเว็บในระดับมากเช่นกัน

Article Details

How to Cite
(Areerug Mejang) อ. . ม. (2018). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 19(4), 276–292. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/93821
Section
Research Articles
Author Biography

อารีรักษ์ มีแจ้ง (Areerug Mejang), Sukhothai Thammathirat Open University

 

Asst.Prof. Areerug Mejang (Ph.D.)

School of Educational Studies

Sukhothai Thammathirat Open University

 

References

Akram, A., & Malik, A. (2010). Integration of language learning skills in second language acquisition. International Journal of Arts and Sciences, 3(14), 231-240.
Baturay, M. H., & Akar, N. (n.d.). A new perspective for the integration of skills to reading. Retrieved June 6, 2017, from http://dergiler.ankara.edu.tr/dergiler/27/761/9653.pdf
Chaipakdee, N. (2011). A study of the state and problems of science lesson planning and implementation of secondary school teachers in the southern region. An Online Journal of Education, 6(1), 2520-2534. (in Thai)
Dueraman, B. (2013). Focus on Thai learners of English: Their self-reports about foreign language learning. International Research Journal of Arts and Social Sciences, 2(7), 176-186.
Hedge, T. (2008). Teaching and learning in the language classroom. London: Oxford University Press.
Hinkel, E. (2010). Integrating the four skills: Current and historical perspectives. In R.B. Kaplan (Ed.), Oxford handbook in applied linguistics (pp. 110-126). Oxford: Oxford University Press.
Jing, W.U. (2006). Integrating skills for teaching EFL-Activity design for the communicative classroom. Sino-US English Teaching, 3(12), 1-5.
Khan, B. (2009). Web-based training. In M. J. Marquard (Ed.), Human resources and their development volume II. (pp.152-185). Eolss Publishers/UNESCO.
Kotkovets, A. L. (2014). An integrated-skills approach to learning a foreign language through the use of the project method. Advanced Education, 2(2014), 66-73.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mingsiritham, K., & Sudsaward, S. (2012). The development of online training packages on electronic book for teachers under secondary education service area 3 (research report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Moonkam, S. et al. (2006). Writing a thinking-oriented learning management plan (2nd ed.). Bangkok: E K Books. (in Thai).
Netpisanvanit, V. (2001). The development of a web-based training model with case-based cooperative learning for developing critical thinking for professional nurses (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission. (2014).The Ministry of Education guidelines on English language teaching reform policy. Bangkok: Chamjuree Products. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission. (n.d.). Teachers and educational personnel enhancement based on mission and functional areas as major. Retrieved September 21, 2017, from npt2.obec.go.th/TEPE/... (in Thai)
Oxford, R. (2001). Integrated skills in the ESL/EFL classroom. Retrieved April 22, 2017, from http://www.cal.org/resources/digest/0105oxford.html
Pathumcharoenwattana, W. (2013). Unit 13 Training packages for non-formal education. In Non-formal educational media development and application Unit 8-15. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Phungdee, K., & Krongyuti, P. (2013). Students’ satisfaction with teaching and learning management of courses offering in the Department of Statistics, Faculty of Science. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Puthong, L. (2009). English teaching methodology in elementary schools in the upper northern region of Thailand (research report). Chiang Mai: Maejo University. (in Thai)
Rammasoot, N., & Rohitsatien, B. (2016). Discussing on TEPE online. Retrieved June 18, 2017, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=44362&Key=news_act (in Thai)
Richards, J. C. & Schmidt, R. (2002). Longman dictionary of language teaching and applied linguistics (3rd ed.). Harlow: Pearson Education.
Saengboon, S. (2015). Unit 2 Application of research on language acquisition, second language acquisition in English language teaching. In Provision of learning experiences in English language. Unit 1-7. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Sangaram, A. (2000). The Development of evaluation criteria for web-based instruction program (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Silpasatham, S. (2007). Development of operational knowledge of English teachers in junior high schools (research report). Bangkok: Pimdeekarnpim. (in Thai)
Wijakkanalan, S., et al. (2013). Teacher and educational personnel development through e-training: UTQ online Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education, Thailand. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning, 3(1), 47-50.
Woottipong, K. (2016). Using E-learning Instruction to Enhance English Pronunciation, Reading and Writing Skills on EFL Primary School Teachers’ Achievement and Motivation. Parichart Journal, 29(1), 216-242. (in Thai)
Yiemkantitavorn, S. (2011). Development of a distance training package on the teaching of English language in order to gain teaching ability for secondary school English teachers in Nonthaburi province (research report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Yiemkantitavorn, S. (2013). Development of distance training packages on the teaching principles of foundation English for secondary school English teachers in Bangkok and its vicinity (research report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Yiemkantitavorn, S. (2015). Development of distance training packages on online English newspapers reading for secondary school English teachers in Nonthaburi province (research report). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)