การพัฒนากระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง

Authors

  • วรินธร เบญจศรี สาขาวิชาการสอนศิลปศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

การพัฒนา กระบวนการสืบค้นภูมิปัญญา เสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ คลองท่าแนะ, development, local Wisdom inquiry cycles process, enhances water conservation consciousness, Khlong Ta Nae

Abstract

การพัฒนากระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง

วรินธร เบญจศรี

มหาวิทยาลัยทักษิณ

ปร.ด.ภาษาศาสตร์

e-mail : [email protected]

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชน ระยะที่  2  สร้างและตรวจสอบกระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำขแงเยาวชน  ระยะที่  3  ศึกษาผลการใช้กระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นครูที่รับผิดชอบ รวมจำนวน 3 คน แกนนำชุมชน  ซึ่งได้จากการเลือกแบบอาสาสมัคร  รวมจำนวน 3  คนและ แกนนำเยาวชนจำนวน 15 คนและเยาวชนจำนวน 30 คน นิสิตจำนวน 9 คน โดยบูรณาการกับวิชาภาษาไทยสำหรับครู  รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น  60  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. รูปแบบการประเมินจิตสำนึก ภาษาศาสตร์ภาคสนาม  2. แบบวัดทักษะการสืบค้นภูมิปัญญาตามแนวทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม 3. การสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาทักษะการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ  จังหวัดพัทลุงประกอบด้วย (5E5W1H1LF)  1) แนวคิด 2) เป้าหมาย 3) เงื่อนไข 4) แผนการสืบค้นภูมิปัญญา 5) การประเมินผล และ 6) การนำเสนอผลและวางแผนการปรับปรุงพัฒนา และจิตสำนึกรักษ์น้ำของนักเรียนทั้งก่อนและหลังมีจิตสำนึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

คำสำคัญ         การพัฒนา กระบวนการสืบค้นภูมิปัญญา เสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ คลองท่าแนะ

 

The Development of Local Wisdom inquiry cycles process Inquiry Process to Enhances Water Conservation Consciousness of Basin Community Youths’ Kon Ton Nam     Khlong Ta Nae, Phatthalung Province

Warintorn Benjasri

Thaksin University

Ph.D. Linguistics

e-mail : [email protected]

Abstract

The purposes of this study were as follows: (1) to develop the Local Wisdom inquiry cycles process Inquiry Process to enhance water conservation consciousness of basin community Kon Ton Nam youths’ Klong Ta Nae, Phatthalung Province. 2) to develop the enhance water conservation consciousness of a basin Community Kon Ton Nam youths’ Klong Ta Nae, Phattalung Province. The procedure of research were 3 phases: the first phase was initiate and examine the local wisdom inquiry cycles process, the second phase was to design the research instrument and verify the local wisdom inquiry cycles process and the third phase was studied the result the local wisdom inquiry cycles process to enhance water conservation consciousness of basin community Kon Ton Nam youths’. The data sources were 1 school in Ton Nam basin community: Ban Khao Poo’s school. The samples were 3 teachers, 15 head of youths, 30 youths, 9 Thaksin University students from volunteers by integrated Thai for teacher subject. The totals of samples were 60. The research instruments were 1) the local wisdom inquiry cycles process 2) the assessment form to affirm the local wisdom inquiry cycles process through the linguistics field 3) the in-dept interview. Data were analyzed using mean, the dependent-test. The results of the local wisdom inquiry cycles process to enhance water conservation consciousness of basin community Kon Ton Nam youths’ through wisdom inquiry cycles process of water conservation consists of 5E5W1H1LF  and 6 components: approach, goal, condition, a learning process preparation, the evaluation, the presentation and the plan of the improvement. The students have water conservation consciousness at significant differences level at .05.

Keywords      development, local Wisdom inquiry cycles process, enhances water

                   conservation consciousness, Khlong Ta Nae

References

วรินธร เบญจศรี. (2559). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ชุดโครงการวิจัยการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาคลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ: สงขลา. (หัวหน้าโครงการวิจัย) ประเภททุนโครงการมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ปี 2558 กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

วรินธร เบญจศรี. (2560). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนต้นน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ชุดโครงการวิจัยการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาคลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ทุนโครงการมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ปี 2558 กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ประเภททุนโครงการมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ปี 2558 กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เสาวรส ยิ่งวรรณะ. (2560). รายงานวิจัยเรื่องการประเมินจิตสำนึกรักษ์น้ำตามแนวคิดการประเมิน 360 องศา ชุดโครงการวิจัยการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาคลองป่าพะยอม-คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ทุนโครงการมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ปี 2558 กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ประเภททุนโครงการมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ปี 2558 กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Krathwohl Bloom & Masia (1964).Taxonomy of educational objectives. The classification of educational goals. Handbook II:affective domain. David McKay : USA

Warintorn Benjasri. (2015). Hindu and Sikh Socio-cultural Perspectives as Reflected in Indian Thai Naming Conventions. Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 15(2), May-August, 151-172.

Warintorn Benjasri. (2017). Sikh and Hindu Indian Thai Naming by Semantic Domains. Journal Dialectologia, 19(summer), 41-66. RGJ-Ph.D. scholarship: The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Programme, The Thailand Research Fund (TRF).

Downloads

Published

2018-10-08