การพัฒนาชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวน ที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • สิริบงกช Pinky วัชระกาญจกุล มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

ชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ, การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9, two dimensions animation, Adding two Digits Undernine Curriculum

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  พัฒนาชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนวัดชลธาราสิงเห (เสาร์ศึกษาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำนวน 42 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster or Area Random Sampling) จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที

            ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 85.92/83.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 85/85 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

 

The objectives of this research were 1)  to develop of skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics strand for grade1 so as to attain the efficiency of the 85/85 standard criterion,  2)  to compare the achievement of  pre and post of students’ learning achievements before and after learning with the skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics, and  3)  to determinc the satisfaction of students with the skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics.

          The samples was student from grade 1 attending Watchontharasinghe School used in the research were divided into two groups 1) the samples was searched the skill practice drills two dimensions animation’s performance by the multi-stage random sampling (Multi-stage Random Sampling) 42, and  2) the sample of achievement and satisfaction with the skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics by the sampling group (Cluster or Area Random Sampling) lots from 30 people . The instruments included 1) skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics strand for grade1 students, 2) assessment from determining the quality of skill practice drills two dimensions animation, 3) parallel per and post achievement tests with three choices for each item, and 4) a questionnaire assessing students' satisfaction with the skill practice drills two dimensions animation on adding twodigits undernine curriculum of mathematics strand for grade1 lessons. The data were analyzed using such statistics as arithmetic mean, standard deviation,  percentage and at-test.

          The findings of the study are summarized as the following; 1) the efficiency of Development of Skill Practice Drills two Dimensions Animation on Adding two Digits Undernine Curriculum of Mathematics Strand for Grade1 was 85.92/83.17 which met the specified criteria of  85/85, 2) after learning with skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics strand for grade1, the students showed a higher level of  achievement at a significant level of  0.01, and 3) the student’s  satisfaction with skill practice drills two dimensions animation on adding two digits undernine curriculum of mathematics was highly positive.

                3.  Overall and by individual aspects, grade1 are learning with the Skill Practice Drills two Dimensions Animation on Adding two Digits Undernine Curriculum of Mathematics students showed a ‘very high’ level of satisfaction.

References

กันยารัตน์ คชเสน. (2552). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกปฏิบัติโดยใช้การเรียนแบบ
ร่วมมือ เรื่องโปรแกรมการคำนวณ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่ 1-5.
กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณิชา ศุภธรรมพิทักษ์. (2554). การพัฒนาชุดการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ทรงศักดิ์ ศรีสว่างวงค์. (2552). พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
เมทริกซ์และระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ปาณิสรา มนต์อภิมุข. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์สาระวิทยาศาสตร์ เรื่องจักรวาลและอวกาศ
หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยี
การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัททิรา เหลืองวิลาศ. (2551). มือใหม่ Flash CS3 ใช้งานอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545).การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การเขียนเอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุภัชรา อวบอ้วน. (2555). พัฒนาบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันโดยแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สมองเป็นฐาน วิชา
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.นครราชสีมา
: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมบูรณ์ พรมท้าว. (2547). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณ การหาร
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฮาลีเม๊าะ สนิและ. (2554). พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่านออก
เสียงคำที่มีตัวสะกดมาตราแม่กก กด และกบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยบริการ ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ 2 , 33 - 40

Downloads

Published

2018-10-08