การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • อนุวัฒน์ เจริญสุข มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 4  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียของนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน 4)  เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 

          กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560  จำนวน 52 คน  โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่  1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.77         3)  แบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ( ) ค่าสถิติการทดสอบที (t – test) และค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  (One –way ANOVA)    

            ผลการวิจัยพบว่า 1)  บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.27/80.83  2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  3)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียของนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน ไม่แตกต่างกัน 4)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.57          

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงาน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.ega.or.th/th/profile/2008/.

กังสดาล ดีพัฒน์. (2553). การสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน,” วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 10 – 12.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและบทเรียน
เครือข่าย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดำรง พันธ์โภชน์ . (2556). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยถิ่นตากใบ จังหวัดนราธิวาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทศธรรม อินทปัน. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เพื่อเพิ่มความสามารถการ
เขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี.

ทวีศักดิ์ ทิพย์รอด. (2549). ความรู้เบื้องต้นการวิจัยเทคโนโนโลยีการศึกษา. ยะลา : คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.

พิไลรัตน์ ชูวิจิตร. (2544). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา เรื่องคำซ้อนในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มนชิตา ฤทธิ์จรูญ. (2545). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์บัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปร
ดักส์ จำกัด.

วีระชาติ ชื่นตา (2556). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การเขียนแบบสำหรับงานออกแบบ เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองแซงวิทยา . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ลัฐิกา ผาบไชย. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคำไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ:สำนักวิจัยและ พัฒนาการศึกษา.

เสกสรรค์ เสาวคนธ์. (2556) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง อินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี. โครงงานวิจัยครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Downloads

Published

2018-10-08