การพัฒนาระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Authors

  • อัญธิชา อินทรวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การพัฒนาระบบ/ การแนะฝึก/ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร/สมรรถนะการสอน

Abstract

อัญธิชา อินทรวงศ์: การพัฒนาระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

(A Coaching System Development for Enhancing Teaching Competency by Using ICT for Teacher Education Students at Songkla Rajabhat University) อาจารย์ผู้ควบคุมดุษฎีนิพนธ์: มนตรี แย้มกสิกร, กศ.ด. 302 หน้า.ปี พ.ศ. 2560. 

 

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาโดยมีกระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 สร้างระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย การสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของระบบการแนะฝึกฯ โดยวิธีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการแนะฝึกฯ 2) แบบวัดสมรรถนะการสอน ได้แก่ แบบวัดความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการจัดการเรียนรู้, แบบวัดคุณลักษณะในการจัดการเรียนรู้ จากนั้นประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 ทดลองระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารกับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 10 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย  ตอนที่ 3 นำระบบการแนะฝึกไปปฏิบัติการสอนจริงกับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 35 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในวิชา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 รหัสวิชา 1004805  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 และศึกษาผลการใช้ระบบการแนะฝึกที่พัฒนาขึ้น ประเมินความเหมาะสมของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน  ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ผล เพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบการแนะฝึกฯให้มีความสมบูรณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ค่า ANOVA แบบการวัดซ้ำ และวิธีการของ Least Significant Difference (LSD) 2) การทดสอบ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. ระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีชื่อเรียกว่า “PCE Model” องค์ประกอบของระบบการสอนฯ มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมการ ระยะที่ 2 ปฏิบัติการแนะฝึก  ประกอบด้วย 2.1) ขั้นขัดแย้งทางปัญญา 2.2) ขั้นพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 2.3) ขั้นมุ่งสู่การเสวนา 2.4) ขั้นนำพาสู่การปฏิบัติ 2.5) ขั้นชี้ชัดด้วยการสะท้อนคิด  และระยะที่ 3 ประเมินผล  
  2. 2. ผลการใช้ระบบการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการเรียนจากระบบการแนะฝึกฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะการสอนด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ระหว่างการใช้ระบบการแนะฝึกฯมีแนวโน้มของพัฒนาการทักษะการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้นโดยพิจารณาผลคะแนนจากการทดลองใช้ระบบการแนะฝึก จำนวน 3 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการเรียนจากระบบการแนะฝึกฯ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการสะท้อนคิด พบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้เส้นทางในจัดการเรียนรู้ที่ในรูปแบบต่างๆผ่านขั้นตอนการแนะฝึกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จนสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะการสอนของตนเองให้ดีขึ้น

References

ดวงกมล โพธิ์นาคและไพรัชนพ วิริยวรกุล. (2557). Google Apps for Education นวัตกรรมทาง
การศึกษายุคดิจิทัล. นิพนธ์ปริทัศน์. 7(3).

ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2543). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา.วารสารพัฒนาเทคนิค
ศึกษา. 12(34).

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง
ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารวิชาการ Vol 7 No
1 (2557)มกราคม – เมษายน.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต
พระราชวังสนามจันทร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สมเกียรติ รัตนวิฑูรย์. (2550). พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบการนิเทศภายใน
ตามการรับรู้ของครูผู้สอน. น่าน : สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน.

สุมาลี ชัยเจริญ.(2547). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม. ขอนแก่น :ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาและ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักเลขาธิการคุรุสภา,คุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556.
[ออนไลน์] สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2558. จาก https://edudean.org/ข้อบังคับคุรุสภา-ว่า
ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ- พ.ศ.2556.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). ปรัชญาการอุดมศึกษาไทยสำนักนโยบายและแผนการ
อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ.

อนุชา โสมาบุตร. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bound et al. (1985). Reflection: Turning experience into Learning. London: Kogan
Page.

Costa, Arthur L. and Robert J. Garmston. (2002). Cognitive Coaching Foundation
Seminar Learning Guide. 5th ed. Highlands Ranch, CO: Center for Cognitive
Coaching.

Dewey, J. (1933). How We Think: A Restatement of the Reflective Thinking to the
Educational Process. Boston. D.C.: Heath and Company.

OECD (2014), Education at a Glance 2014: OECD Indicators, OECD Publishing.

Osborne, R.J. , and Wittrock. (1983). M.C.Learning science : A generative process.
Science Education 4: 489-508

Vincent, I. (2004). Coaching for meaning : The culture and practice of coaching and
team Building. Great Britain: Palgrave Macmillan.

Downloads

Published

2018-10-08