การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ ของเยาวชน ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง

Authors

  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
  • วรินธร เบญจศรี
  • วีนัส ศรีศักดา
  • จินตนา กสินันท์
  • เสาวรส ยิ่งวรรณะ
  • คุณอานันท์ นิรมล
  • ศิริรัตน์ สินประจักษ์ผล

Keywords:

กระบวนการเรียนรู้, จิตสำนึกรักษ์น้ำ

Abstract

งานวิจัยเรื่อง  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)  สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุงและ  (2)  ศึกษาจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะ  จังหวัดพัทลุง  แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผลการวิจัยกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนคนต้นน้ำ  กลางน้ำ  และปลายน้ำคลองท่าแนะ  จังหวัดพัทลุง เยาวชนแกนนำ 45 คน เยาวชนกลุ่มขยายผล 306 คน  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  การสังเคราะห์เอกสาร และการวัดจิตสำนึกรักษ์น้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์อุปนัย  และการทดสอบ Wilcoxon signed- rank  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.  กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุงกระบวนการเรียนรู้ มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเหมาะสม ความชัดเจน และความง่ายต่อการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก  มี 6 องค์ประกอบ  ได้แก่ แนวคิด เป้าหมาย เงื่อนไข การจัดกระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลและการนําเสนอผล  และวางแผนการปรับปรุงพัฒนา การจัดกระบวนการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสืบค้นภูมิปัญญา  การพัฒนาจิตสำนึก การเน้นย้ำรำลึก

2. เยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะมีจิตสำนึกรักษ์น้ำหลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชำนิ ยอดแก้วเรือง. (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2557.

ประเวศ วะสี. (2555). จุดเปลี่ยนประเทศไทยหัวใจอยู่ที่ชุมชน. กรุงเทพฯ: กรีนปัญญาญาณ.

รุ่งจิตร กองคำ. (2541).การพัฒนาจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รานี วิสูตรธนาวิทย์. (2548). กระบวนการสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะของนักเรียน : ศึกษากรณีโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ลัดดา ศิลาน้อย และคณะ. (2543). ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ทองกร. (2548). การศึกษากระบวนการปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบทสังคมเมืองของผู้นำชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเมืองรังสิต เทศบาลเมืองรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16. (2557). รายงานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออกครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพ: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

อนิสา สังข์เจริญ. (2553). การพัฒนาจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏพระนคร.

Krathwohl, D. R., Bloom, B. S., & Masia, B. B. (1964) Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals–handbook II: affective domain. New York: McKay.

Downloads

Published

2018-04-10