การพัฒนาสื่อเสมือนจริง เรื่องแหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล

Authors

  • ธานินทร์ อินทรวิเศษ Thaksin University http://orcid.org/0000-0003-3362-9561
  • คุณอานันท์ นิรมล Thaksin University
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Thaksin University

Keywords:

สื่อเสมือนจริง, เมนทอลโมเดล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล ให้มีประสิทธิภาพ 85/85 2)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ของนักศึกษา กศน. ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล 4)  เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ของนักศึกษา กศน.หลังเรียน ด้วยสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล กับเกณฑ์ร้อยละ 85 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา กศน.ที่มีต่อสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล การวิจัยนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบ้านสำนักวา กศน.อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จำนวน 66 คน ที่ได้จากสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้แก่ การสุ่มแบบแบ่งกลุ่มและการการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อเสมือนจริงและหนังสือประกอบการใช้งานสื่อเสมือนจริงเรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล 2) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง 3) แบบประเมินสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา กศน.ที่มีต่อสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 85/85  2) ดัชนีประสิทธิผลของสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดลมีค่าเท่ากับ 0.63 3) นักศึกษา กศน.ที่เรียนด้วยสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล หลังจากเรียนรู้ด้วยสื่อเสมือนจริงเพื่อการเรียนรู้ฯ มีพัฒนาการทางความรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

4) นักศึกษา กศน.หลังจากที่เรียนด้วยสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุงตามแนวคิดเมนทอลโมเดล มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษา กศน.ที่มีต่อสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล เฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.83 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.51  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

คุณอานันท์ นิรมล, Thaksin University

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ  

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์, Thaksin University

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรการวัดและประเมินผลการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

ชวนพิศ จะรา. (2556). การพัฒนาการเรียนด้วยเทคโนโลยีผสานความจริง(AR) ร่วมกับหนังสือนิทานสองภาษาโดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาด้านการฟังของเด็กประถมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การหาประสิทธภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาวิจัย, 5(1), 7-19

ณัฐมา ไชยวรโยธิน. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องศิลปะการแสดงประจำชาติ ประเทศในประชาคมอาเซียนด้วยเทคโนโลยีออรัสมา, วารสารวิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา : e-Journal of Innovative Education, 2(1), 162 – 165. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559, จาก http://edtech.edu.ku.ac.th/pdffile-e-journal/วารสารวิจัยปีที่-2-ฉบับที่1.pdf.

นงคราญ ศรีสะอาด. (2556). การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนจากเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality, Executive Journal, 30(2), 169-174).

วารินทร์ รัศมีพรหม. (2541). การออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษาและการพัฒนาระบบการสอน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิศรา ก้านจักร. (2551). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมเมนทอลโมเดลแบบผู้เชี่ยวชาญ, วารสารเทคโนโลยีทางปัญญา, 3(2), 72-85.

Fleck, S. & Simon, G. (2013). “An Augmented Reality Environment for Astronomy Learning in Elementary Grades: An Exploratory Study,” Proceeding IHM '13 Proceedings of the 25th Conference on l'Interaction Homme-Machine. Retrieved August 25, 2015, from http://dl.acm.org/citation.cfm?id=2534907.

Juan, C. Beatrice, F. & Cano, J. (2008). An Augmented Reality System for learning the interior of Human Body, ICALT '08 Proceedings of the 2008 Eighth IEEE International Conference on Advanced Learning Technologies. 2008, 186-188. Retrieved August 25, 2015, from https://pdfs.semanticscholar.org/9b55/faf79492ea56891a1e96232b163 d0be0bcca.pdf.

Downloads

Published

2018-04-10