การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Authors

  • พลากร คล้ายทอง Thaksin University http://orcid.org/0000-0003-2403-3467
  • คุณอานันท์ นิรมล มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

แหล่งการเรียนรู้เสมือนจริง วัดราชประดิษฐาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หลังกับก่อนการชมแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงของผู้รับชมแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครที่ได้จากการสมัครเพื่อเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) แหล่งการเรียนรู้เสมือนจริง  2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้แหล่งการเรียนรู้เสมือนจริง  3) แบบสอบถามความพึงพอใจ  4) แบบประเมินคุณภาพแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ทดสอบค่าที (t-test Dependent)

          ผลการวิจัยพบว่า  1) แหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.67/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  2) ผลการเรียนรู้หลังชมของกลุ่มอาสาสมัครสูงกว่าก่อนชมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) กลุ่มอาสาสมัครความพึงพอใจต่อแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริง วัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60 , S.D. = 0.49)

Author Biographies

คุณอานันท์ นิรมล, มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจําหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์, มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจําหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2521). ประมวลศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 – 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.
ทัดดาว บุตรฉุย. (2548). การเปรียบเทียบผลของภาพนิ่งและภาพพาโนรามาเสมือนจริงประกอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำภาพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีการรับรู้ภาพแบบแฮพติค. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภดล ฤกษ์สิริศุภกร. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบภาพพาโนรามาเสมือนจริง 360 องศาเรื่องป่าชายเลนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ สุกรี รอดโพธิ์ทอง ชัยเลิศ พิชิตพรชัย และ โสภาพรรณ แสงศัพท์. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

พิเชษ ทองนาวา. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบภาพพาโนรามาเสมือนจริง เรื่องพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

สมสิทธิ์ จิตรสถาพร. (2535). เทคนิคการจัดการศึกษานอกสถานที่. สงขลา: โครงการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒสงขลา.

สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อิทธิญา อาจรักษา. (2556). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนจริง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

Published

2018-04-10