ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibMในห้องสมุด โรงพยาบาลมหาสารคาม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข Application of ULibMin Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health

Authors

  • สุภาภร ผ่องอุดม
  • พรทิพย์ วรกุล
  • วุฒิชัย พรพัชรพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำงานของระบบอัตโนมัติยูลิบเอ็ม (UlibM) ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในห้องสมุดโรงพยาบาลมหาสารคามสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2) ศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติยูลิบเอ็ม ในห้องสมุดโรงพยาบาลมหาสารคาม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของห้องสมุดในโรงพยาบาลมหาสารคามประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แยกเป็นกลุ่มประเมินความเหมาะสมของระบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี หรือคอมพิวเตอร์ 5 สาขาวิชาชีพ จำนวน 5 คน และบรรณารักษ์ห้องสมุดในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 11 แห่ง 32 คน และกลุ่มผู้ใช้บริการระบบได้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาลมหาสารคาม จากจำนวนบุคลากรในโรงพยาบาลมหาสารคาม ทั้งหมด 1,337 คน ได้แก่ แพทย์ และทันตแพทย์ รวมจำนวน 79 คน พยาบาล จำนวน 361 คน เภสัชกร จำนวน
29 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน 868 คน (โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2557 : ค) กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ (Yamane, 1973 อ้างในธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543)ตาราง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสำรวจประเมินความคิดเห็น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ระบบอัตโนมัติ ยูลิบเอ็ม UlibM ที่นำมาประยุกต์ใช้ในห้องสมุดโรงพยาบาลมหาสารคาม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยกระบวนการทำงานดังนี้ ระบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ระบบสมาชิก ระบบการสืบค้น การบริการเครื่องมือสืบค้น ระบบยืมคืน การจัดการวารสาร นิตยสารและระบบการรายงานผลการปฏิบัติงาน 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติยูลิบเอ็ม UlibM ในห้องสมุดโรงพยาบาลมหาสารคาม ของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมใน 4 ด้านพบว่ามีเหมาะสมมากที่สุด คือด้านหน้าที่ของระบบและด้านความสามารถทำงานตามความต้องการผู้ใช้ ( gif.latex?\bar{x}=4.58) ส่วนด้านการใช้งานของโปรแกรม และด้านความปลอดภัย
ผลการประเมินตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่โดยรวมใน 4 ด้าน พบว่า ด้านความปลอดภัย โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.18) ด้านการใช้งานของระบบอัตโนมัติ ยูลิบเอ็ม UlibM โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.18) ด้านหน้าที่ของโปรแกรม พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.97) และด้านความสามารถทำงานตามความต้องการผู้ใช้ ความสามารถโดยรวมของระบบบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวม ( gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.62 3. ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงพยาบาลมหาสารคาม มีความพึงพอใจ รายด้าน ด้านการให้บริการในระดับมาก (3.64) ด้านฮาร์ทแวร์ ซอฟแวร์ ( gif.latex?\bar{x}=3.39) และด้านการสืบค้นในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=3.48) และความพึงพอใจในการใช้บริการระบบอื่นๆโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=3.47) คำสำคัญ : ระบบอัตโนมัติ ยูลิบเอ็ม UlibM

ABSTRACT
The research was a survey, aiming to : 1) study the working process of the UlibM automatic system which would be applied in Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health; 2) study the feasibility of application of the UlibM automatic system in Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health; 3) study the level of customers’ satisfaction with Mahasarakham Hospital Library services. The target group consisted of 5 experts in technology or computer from 5 occupations that dealt with assessment of the system installation and the
access of the UlibM automatic system applied in the context of Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health, 11 librarians from hospital libraries that used the UlibM automatic system, and 135 customers of Mahasarakham Hospital Library who were personnel of Mahasarakham Hospital. The instruments were 3 rating scale questionnaires for opinion surveying and evaluation. The statistics employed in data analysis comprised percentage, the mean and standard deviation. The results are as follows: 1. The UlibM automatic system which was applied in Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health consisted of the following working processes: the information resource procurement system, the member system, the retrieval, the retrieving tool service system, the circulation service, periodical and magazine management system, and the performance
report system. 2. The feasibility assessment of the application of the UlibM automatic system in Mahasarakham
Hospital Library by the experts on four aspects, on the whole, revealed that the aspect of the system function and the system usage were most feasible ( gif.latex?\bar{x}=4.58for each), while the safety aspect and the aspect of ability to respond to the customer’s need were in the high level ( gif.latex?\bar{x}=4.37, 4.00 respectively).The assessment by the librarians and personnel on the four aspects, on the whole, revealed the results in the high level on every aspect: the safety aspect, the system usage aspect, the program function system aspect, and the aspect of ability to respond to the customer’s need ( gif.latex?\bar{x}= 4.18, 4.14, 3.97 and 3.93 respectively) ; and the evaluation by the customers of Mahasarakham Hospital Library on the four aspects, o n the whole, revealed the results in the high level on every aspect: the safety aspect, the system usage aspect, the aspect of ability to respond to the customer’s need, and the program function system aspect ( gif.latex?\bar{x}= 4.19, 4.17, 4.10 and 4.09 respectively). 3. The results of the assessment of the customers’ satisfaction with Mahasarakham Hospital Library services are as follows: the service aspect was in the high level ( gif.latex?\bar{x}=3.64), the hardware and software aspect ( gif.latex?\bar{x}=3.39) and the retrieval ( gif.latex?\bar{x}=3.48) were in the moderate level; and the satisfaction with other services, on the whole, was in the high level ( gif.latex?\bar{x}=3.47). Keywords : The UlibM Automatic Library System

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

ผ่องอุดม ส., วรกุล พ., & พรพัชรพงศ์ ว. (2018). ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibMในห้องสมุด โรงพยาบาลมหาสารคาม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข Application of ULibMin Mahasarakham Hospital Library, Ministry of Public Health. Chophayom Journal, 29(1), 79–92. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126445

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์