การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก; An analysis of Factors Effecting The Educational Quality Assurance Management of Small-sized Schools

ผู้แต่ง

  • มยุรีย์ แพร่หลาย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรณี แกมเกตุ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา, มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการประกันคุณภาพ 4) เสนอแนวทางการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 390 โรงเรียน โรงเรียนกรณีศึกษา 2 โรงเรียนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการและครู จำนวน 1,170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ปัจจัยด้านลักษณะของสภาพแวดล้อมและปัจจัยด้านลักษณะของโรงเรียน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการประกันคุณภาพด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ คือการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง และการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในขณะที่ปัจจัยอุปสรรค คือระบบสารสนเทศที่ไม่เป็นปัจจุบันและการขาดแคลนบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4) แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กตามกระบวนการ PDCA นั้น ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดหา การแบ่งงานและมอบหมายงานให้บุคลากร การจัดทำระบบสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องโดยการใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารในการใช้กลยุทธ์ให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

References

1. กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. จิรนันท์ อารีรอบ. (2549). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. จุฑารัตน์ วิทยาขาว. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา :
ศึกษากรณีการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ชนิดา วิสะมิตนันท์. (2549). การวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ DOS-SBM. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1.

6. ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อคุณภาพของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระบบการประเมินคุณภาพภายนอก. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3(1) : 45-56.

7. ปิยะธิดา ทองอร่าม. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา : การวิเคราะห์พหุระดับด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. นงเยาว์ อุทุมพร. (2547). การพัฒนาระบบการส่งเสริมการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. วราภรณ์ บุญเจียม. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. วันเพ็ญ วรวงศ์พงศา. (2547). ปัจจัยระดับครูและระดับผู้บริหารโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของครูโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

11. สุพัตรา ทรัพย์เสถียร. (2546). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.

13. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). สถิติข้อมูลทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ท.)
14. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). ร่างบท สรุปสำหรับผู้บริหารผลสะท้อนจากการประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรก (พ.ศ. 2544-2548).

15. อุทุมพร จามรมาน. (2544). วิธีทำประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ฟันนี.

16. Bauerly Kopel, M.E. (1997). The implementation of total quality management principles in Minnesota schools: Evidence from the field. [CD-ROM]. Abstracts from: Dissertation Abstracts International Item: 19804709.

17. Cuttance, P.(1994). The Contribution of quality assurance reviews to development in school systems. In D.H.Hargreaves and D. Hopkins (eds.), Development planning for school improvement, pp. 49-68. London: Cassell.

18. Deming, W.E. (1986). Out of the crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.

19. Healy, M. (1994). BS 5750 and beyond in a secondary school: A change for the best. In C. Parsons (ed.), Quality Improvement in Education, pp. 68-69. London: David Fulton.

20. Hertling, E. (2000). Implementing whole-school reform. Online Journal Of Learning Librarian [Online serial]. Available from: Ebscohost Full Display Item: 3026578. [2008, December 16]

21. Kaufman, R. and Zahn, D. (1993). Quality management plus: The continuous improvement of education. Newbury Park: Corwin Press.

22. Moorhead, G. and Griffin, R.W. (1998). Organizational behavior: managing people and organization. 5th ed. Boston: Houghton Miffin.

23. Murgatroyd, S. and Morgan, C. (1994). Total quality management and the school. Buckingham: The Open University Press.

24. Robinson, B.M. (1996). Total quality management in education: The empowerment of a school community (Australia). [CD-ROM]. Abstracts from: Dissertation Abstracts International Item: 19626247.

25. Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness: A Behavioral View. Sant Monica, Calif: Goodyear Publishing Company, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-12