การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ; Development of Management Startegies for Vocational Education Institions in Response to Manpower Requirement of Enterprises

ผู้แต่ง

  • ลือชัย แก้วสุข คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา, ความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ 2) ศึกษาสภาพความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการในเขตบริการสถานศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ ประชากรในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารการผลิตกำลังคน เรื่องการวางแผน การนำแผนการผลิตกำลังคนไปปฏิบัติและการประเมินผล พบว่าสถานศึกษาวางแผนการผลิตสามารถผลิตกำลังคนได้ใกล้เคียงกับแผนแต่ยังต้องปรับแผนการผลิตในบางสาขาที่สถานประกอบการต้องการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาให้สอดคล้องกับสาขาอาชีพ 2) สภาพความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการพบว่าสถานประกอบการมีความต้องการทักษะด้านสติปัญญาเรื่องการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้เครื่องจักรถูกต้องตามคู่มือ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นที่ปรึกษาทำงานได้มากกว่า 1 หน้าที่ ด้านทักษะทางพฤติกรรมต้องการให้มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สามารถประสาน งานกับเพื่อนร่วมงาน และกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) การวางแผนเชิงรุก (2) นำแผนสู่การปฏิบัติด้วยไตรภาคี (3) ปรับกระบวนทัศน์ในการประเมินผล

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2551). แผนกลยุทธ์กองสุขศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2551-2554 นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา)

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2549). รายงานการสำรวจความต้องการแรงงานและการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร : กรมจัดหางาน.

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2550). แผนแม่บทแรงงาน (พ.ศ. 2550-2554). รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : กรมจัดหางาน

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2552). คุณสมบัติพื้นฐานของลูกจ้างที่นายจ้างต้องการและคุณลักษณะพื้นฐานของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องการในกรมจัดหางานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ. กรุงเทพมหานคร : กรมจัดหางาน.

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2554). ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอาชีพในช่วงปี 2553-2554. กรุงเทพมหานคร : กรมจัดหางาน.

กัลยา อยู่บ้านคลอง. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางสังคมกับสุขภาพจิตของวัยรุ่น ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑา มนัสไพบูลย์. (2537). การวิเคราะห์ตลาดแรงงาน : แนวคิดเชิงทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

วุฒิพล สกลเกียรติ. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555). รายงานความต้องการกำลังคน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลัก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุมาลี ปิตยานนท์. (2539). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, D. (2004). Vocational Education Schools and Colleges and the Need of the Economy. The United Kingdom. International Research Conference on Vocational Education and Training, 13-14 August 2004. IMPACT Muang Thong Thani-Convention Center (Hall 9), Bangkok Thailand.

Mounier, A. (2001). The Three Logics of Skills in French Literature. NSW Board of Vocational Education and Training.

Glahe, Fred R., ed. (1978). Adam Smith and the Wealth of Nation. Colorado Associated University.

Theodore, W.S. (1961). Investment in Human Capital. American Economic Review March.

Stepich, D.A., Lehman, J.W., Russell. J.W. (2007). Instructional Development Model Critique-PIE model. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30