บรรยากาศองค์การและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1; Organization Climate and Work Motivation Affecting Participation in Internal Quality Assurance of Schools...

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ์ สร้อยทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มณฑป ไชยชิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, แรงจูงใจในการทำงาน, การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพภายใน

บทคัดย่อ

      การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับบรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายใน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของครู และสร้างสมการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 250 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .956 ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับบรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.08, gif.latex?\bar{X}= 4.11 และ gif.latex?\bar{X}= 4.21 ตามลำดับ  2. บรรยากาศองค์การและแรงจูงใจในการทำงานต่างมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง กับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .605 และ r = .721 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ บรรยากาศองค์การ และแรงจูงใจในการทำงาน โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 55.9 (R2 = .559) และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

gif.latex?\hat{Z}participation in internal quality assurance = .563 Zwork motivation + .252 Zorganizational climate

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2558). ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์แพคเกจจิ้ง.
2. ณัญญา มูลประหัส. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่องาน ความเชื่ออำนาจในตน บรรยากาศองค์การกับการมีส่วนร่วมในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. นงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2552). อิทธิพลของระบบรางวัลต่อผลลัพธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. เนตรรุ้ง อยู่เจริญ. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. บุษยา วีรกุล. (2558). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
6. ปรารถนา อังคประสาทชัย. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.สำนักทดสอบทางการศึกษา
7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
8. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2558). ปรัชญาและมโนทัศน์สังคมแห่งการเรียนรู้ Philosophies and Concept of Learning Society. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. Amir, M. (2015). Developing Structure for Management of Quality in School: Steps towards Quality Assurance Systems. American Journal of Educational Research 3(8): 977-981.
10. DuBrin, A.J. (1973). Fundamentals of Organizational Behavior. New York: Pergamon Press. Litwin, G.H. & Stringer, R.A. (1968). Motivation and Organizational Climate. Boston: Harvard University Press.
11. McClelland, D.C. (1987). Human Motivation. U.K.: Cambridge University Press. Newstrom, J.W. & Keith, D. (2007). Organizational Behavior: Human Behavior at Work. U.S.A.: McGraw-Hill.
12. Robbins, S.P. & Judge, T.A. (2010). Essentials of Organizational Behavior. New Jersey: peason/Prentice Hall.
13. Stringer, R.A. (2002). Leadership and Organizational Climate: The Cloud chamber Effect. New Jersey: Upper Saddle River, Prentice Hall.
14. Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-12